Upcycling แนวคิดยุคใหม่…ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย

ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของกระบวนการ “Upcycling” หรือ “Upcycle” ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการรีไซเคิลและมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหากากของเสีย ขยะที่ใช้แล้ว ส่งผลให้ลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จากบทความที่ผ่านมา “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ได้กล่าวถึง กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ว่าคืออะไร หลักการเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกระบวนการ Upcycling ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycle และ Upcycling ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ

Upcycling คืออะไร ?

กระบวนการ Upcycling ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough และ Michael Braungart ในหนังสือ “Cradle to Cradle : Remaking the Way We Make Things” ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ลดการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต หรือลดการใช้พลังงานที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดย “Upcycling” หรือ “Upcycle” นั้น มาจากคำว่า Upgrade ที่หมายถึงการทำให้ดีขึ้นหรือพัฒนาให้ดีขึ้น รวมกับคำว่า Recycling / Cycle ที่หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อกลับเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้ง ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง คือ การรวมกันของคำว่า Up และ Cycling / Cycle นั่นเอง เพราะฉะนั้น สรุปโดยรวม Upcycling หมายถึง กระบวนการนำวัสดุเหลือใช้หรือของที่กำลังจะถูกทิ้งเป็นขยะกลับเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้ง โดยปรับปรุงและออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เหมือนของเดิม มีคุณภาพที่ดีขึ้น และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่ทำให้คุณภาพและส่วนประกอบของวัสดุนั้นลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุผ่านกระบวนการออกแบบและผลิต โดยอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ กล่าวคือ กระบวนการ Upcycling คือ การรีไซเคิลที่เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากวัสดุเหลือใช้ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยการ Upcycling นั้นมีกระบวนการหลัก ๆ ดังนี้

หลักการของกระบวนการ Upcycling

ความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycling และ Upcycling

อย่างที่ทราบกันนะครับว่า กระบวนการ Recycling และ Upcycling มุ่งเน้นการลดของเสียและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมไปถึงการนำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนขยะให้กลับมาวนใช้ได้อย่างไม่รู้จบ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งกระบวนการ Upcycling นั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Recycling กล่าวคือ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ก่อนนำไป Recycle หรือกลายเป็นขยะ ผ่านการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าทั้งสองกระบวนการดังกล่าวจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่เมื่อเจาะลึกไปในรายละเอียดจะพบว่าทั้งสองกระบวนการนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
  petromat@chula.ac.th