โครงการพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอก

ศูนย์ฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) – สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ซึ่งให้ทุนสนับสนุนเงินเดือนและสวัสดิการ เพื่อบ่มเพาะนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกสู่เส้นทางอาชีพในภาคอุตสาหกรรม พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยโครงการฯ แบ่งออกเป็นสองระยะ

โครงการฯ ในระยะแรกดำเนินการระหว่างวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งสร้างนักวิจัยสำเร็จแล้วจำนวนทั้งสิ้น 11 คน โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งสิ้น 11 บริษัท ส่วนโครงการฯ ในระยะที่สอง ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยผู้ร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งหมด 14 คน และมีความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งสิ้น 11 บริษัท

โครงการย่อยในแต่ละปี มีการจับคู่กันระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทเอกชน เพื่อสร้างความพร้อมแก่นักวิจัยให้มีความรู้และทักษะต่าง ๆ ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยผลผลิตที่เกิดขึ้น ได้แก่ ต้นแบบเทคโนโลยี ต้นแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีประโยชน์และใช้งานได้จริง

กิจกรรมการประชุม/ เสวนา/ อบรม/ Reskill & Upskill

กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน ในช่วงพฤษภาคม 2565

เพื่อเยี่ยมชมโรงงาน ห้องปฏิบัติการวิจัย ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัย รวมถึงการเจราจาความร่วมมือ และปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาระบบการบ่มเพาะนักวิจัยหลังปริญญาเอกให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยสามารถนำไปเป็นต้นแบบสำหรับประเทศในอนาคตได้

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th