เครือข่ายนักวิจัยสถาบันร่วม

ในการผลิตและพัฒนานักวิจัย รวมถึงการสร้างเทคโนโนยีและนวัตกรรม ไปสู่เป้าหมายในการการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ดำเนินงานเชิงบูรณาการร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มากกว่า 200 คน จาก 11 สถาบัน ใน 7 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ดังต่อไปนี้

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันแกนนำของศูนย์ฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ปัจจุบันศูนย์ฯ มีความร่วมมือกับคณาจารย์ผู้เป็นสมาชิกเครือข่าย ซึ่งเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปิโตรเลียม เทคโนโลยีปิโตรเคมี วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ รวมทั้งด้านพลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์สถาบัน www.ppc.chula.ac.th

ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนึ่งในสถาบันอันเป็นเครือข่ายของศูนย์ฯ ประกอบด้วยคณาจารย์ผู้มีความรู้ด้านเคมีวิศวกรรมและเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง รวมถึงมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์สถาบัน www.chemtech.sc.chula.ac.th

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่ดีที่สุดในประเทศ เป็นสถาบันร่วมในเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งทำวิจัยร่วมกันโดยเฉพาะในสาขาวัสดุสมรรถนะสูงและวัสดุฉลาด เพื่อการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์และด้านสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์สถาบัน web.chemcu.org

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันร่วมในเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งมีงานวิจัยเด่นร่วมกันในสาขาวัสดุศาสตร์ รวมทั้งพอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีเซรามิก อาทิ สิ่งทอ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ วัสดุคอมโพสิท วัสดุกักเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่และตัวเก็บประจุ เป็นต้น

เว็บไซต์สถาบัน www2.matsci.sc.chula.ac.th

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมาชิกเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นสถาบันที่เสริมความเชี่ยวชาญให้แก่ศูนย์ฯ ทางด้านวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ วัสดุผสม เซลล์เชื้อเพลิง เซนเซอร์ตรวจวัดสารชีวภาพ ฯลฯ

เว็บไซต์สถาบัน chem.sci.ku.ac.th

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หนึ่งในสถาบันร่วมที่เป็นเครือข่ายสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดของศูนย์ฯ มีคณาจารย์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ วิศวกรรมด้านวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

เว็บไซต์สถาบัน che.eng.ku.ac.th

ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมวัสดุ วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ และนาโนเทคโนโลยี โดยอาจารย์ของสถาบันผู้เป็นสมาชิก
ในเครือข่าย มีโครงการวิจัยร่วมกับศูนย์ฯ ในด้านพอลิเมอร์ธรรมชาติและวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน matse.su.ac.th

สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สถาบันที่ร่วมทำวิจัยกับศูนย์ฯ ภายใต้การเป็นสมาชิกของเครือข่าย ซึ่งมีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านวัสดุคอมโพสิทชีวภาพ
วัสดุชีวการแพทย์ รวมถึงการออกแบบและการผลิตบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน beta.sut.ac.th/ie-pe

หลักสูตรปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สถาบันผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของศูนย์ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านวัสดุพอลิเมอร์ พลาสติก ไม้ ยาง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน engineer.wu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เข้าร่วมเป็นสมาชิกล่าสุดของศูนย์ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2566 โดยมีคณาจารย์และกลุ่มวิจัยที่ทำวิจัยเชิงบูรณาการในด้านปิโตรเคมีและวัสดุขั้นสูง และมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เว็บไซต์สถาบัน sci.tu.ac.th

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยบูรพา

สมาชิกล่าสุดของศูนย์ฯ ที่เข้าเป็นสถาบันร่วมเมื่อปี พ.ศ. 2566 โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวภาพ และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และเป็นเครือข่ายวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของประเทศไทย

เว็บไซต์สถาบัน chemeng.buu.ac.th

คลิ๊กเพื่ออ่านออนไลน์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th