สูตรใหม่ เรซินชีวภาพผสมเซลลูโลส สำหรับงานพิมพ์สามมิติ ที่มาพร้อมความแข็งแรงและความสามารถในการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นมิติใหม่ด้านวัสดุเพื่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น

ชิ้นงานสามมิติถูกพิมพ์ด้วยเครื่องระบบ Digital Light Processing ซึ่งรับข้อมูลดิจิทัลที่ถูกออกแบบไว้แล้วในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปขึ้นรูปวัสดุแบบชั้นต่อชั้นด้วยความละเอียดและความแม่นยำสูง ตัววัสดุเป็นส่วนผสมระหว่างเรซินชีวภาพกับเซลลูโลส ในรูปของเหลวที่แข็งตัวได้เมื่อสัมผัสกับแสงที่ความเข้ม 405 นาโนเมตร โดยเครื่องจะฉายแสงดังกล่าวเป็นรูปภาคตัดขวางตามแนวตั้งของชิ้นงาน ให้วัสดุผสมดังกล่าวค่อย ๆ กลายสภาพจากของเหลวเป็นของแข็งทีละชั้น ๆ จนได้ชิ้นงานสมบูรณ์รูปสามมิติ

ความพิเศษของวัสดุชนิดนี้อยู่ตรงเซลลูโลสที่ช่วยเพิ่มทั้งความแข็งแรงเชิงกลเข้าไป และยังสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อีกด้วย โดยนักวิจัยยังได้ทดลองใช้เซลลูโลสอีกหลากหลายชนิด เพื่อพัฒนาสูตรเรซินชีวภาพที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปเป็นชิ้นงานสามมิติ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างไม่จำกัด

ผลงานโดย คุณกิตตินนท์ สกุลโภคทรัพย์ ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมด้วย ดร.ชวนชม อ่วมเนตร สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th