ช่วงหลังมานี้ มีข่าวการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ‘ไวรัสซิกา’ ที่แพร่กระจายโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ก็เคยระบาดในประเทศไทยในช่วงปี 2558 ทำให้ทุกวันศุกร์หลายแห่งมีการรณรงค์ให้ใส่ชุดผ้าไทยไปทำงาน ทำให้บางคนอาจรู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจไม่น้อย เพราะมีทัศนคติว่า ใส่ผ้าไทยแล้วดูแก่ ยิ่งในหน้าร้อน พอเหงื่อออกเยอะก็เกิดการหมักหมมจนเหม็นอับ ด้วยว่าเส้นใยผ้าอย่างไหมไทยดูดซับความชื้นได้ดี จึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่มาของกลิ่นไม่พึงประสงค์

เหตุนี้เองทำให้นักวิจัยพยายามคิดค้นวิธีทำให้ไหมไทยมีสมบัติต้านแบคทีเรีย หนึ่งในนั้นก็คือการเคลือบเส้นใยไหมไทยด้วยซิลเวอร์นาโน โดยทีมวิจัยได้สังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนด้วยสารละลายโซเดียมโบโรไฮไดรด์ ให้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ผลที่ได้ก็คือสารละลายซิลเวอร์นาโนหลากสีสัน ซึ่งสามารถย้อมสีผ้าพร้อมเคลือบเส้นใยไหมไทยให้มีคุณสมบัติต้านเชื้อโรคเบ็ดเสร็จจากการจุ่มแช่ในขั้นตอนเดียว โดยพบว่าไหมไทยที่ย้อมสีด้วยซิลเวอร์นาโนสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียชนิด อีโคไล และสตาฟิโลคอคคัส ออเรียส ได้ดีถ้ามีวางขายเมื่อไร ใครที่เคยกังวลเรื่องแต่งผ้าไทยก็สบายใจกันได้แล้ว เพราะไหมไทยไม่ได้มีสีเชยและผ้าอับอย่างที่คิด

ผลงานนี้สร้างสรรค์โดยคุณชนิกานต์ มูลรัตน์ ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตกุล ร่วมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์ และรองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา จินาวัฒน์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th