แปรรูปกลีเซอรอลที่ได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล ให้กลายเป็นโพรพิลีนไกลคอล ด้วยตัวเร่งรูทีเนียม-โคบอลต์บนตัวรองรับอะลูมินาเซอร์โคเนียมออกไซด์ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยรู้ไหมว่า การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มมีผลพลอยได้เป็นกลีเซอรอล ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นโพรพิลีนไกลคอล สารสารพัดประโยชน์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยนำกลีเซอรอลไปทำปฏิกิริยาร่วมกับก๊าซไฮโดรเจนในกระบวนการที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะสองชนิดร่วมกัน นั่นคือ รูทีเนียม-โคบอลต์บนตัวรองรับอะลูมินาเซอร์โคเนียมออกไซด์หลังทดสอบการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวพบว่าอัตราการการผลิตโพรพิลีนไกลคอลมีมาก โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิและความดันก๊าซไฮโดรเจนให้อยู่ในระดับเหมาะสม และควบคุมความเข้มข้นของกลีเซอรอลให้สารในกระบวนการมีความหนืดกำลังดี งานนี้นอกจากจะเพิ่มมูลค่าสารปิโตรเคมีแล้ว ยังสนับสนุนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งจะช่วยเกษตรกรปาล์มและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศ

ผลงานโดย คุณรัชชากร เลิศชนะวงษ์ ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี สายศรีหยุด ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th