พอลิโพรพิลีนคาร์บอเนต สังเคราะห์จากคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานแบตเตอรี่ไฟฟ้า

พอลิโพรพิลีนคาร์บอเนตเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาร่วมระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์กับอีพอกไซด์ ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณ
ก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตพอลิเมอร์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในส่วนอิเล็กโทรไลต์ชนิดของแข็ง เพื่อทดแทนพอลิเอทิลีนออกไซด์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแต่นำไฟฟ้าได้ไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง โดยอิเล็กโทรไลต์ชนิดของแข็งยังมีข้อดีเหนือกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นสารละลาย เช่น ปลอดภัยจากการรั่วซึม อีกทั้งขึ้นเป็นรูปทรงที่ซับซ้อนให้เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายได้มากกว่า เช่น ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี พอลิโพรพิลีนคาร์บอเนตทนความร้อนได้ไม่ดีในช่วงอุณหภูมิที่สูงมาก นักวิจัยจึงนำพอลิเมอร์ดังกล่าวไปดัดแปรพื้นผิวของซัลโฟเนเทตพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโทนหรือสพีก ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์อีกชนิดที่มีสมบัติทนความร้อนได้ดีและยังทนต่อสารเคมีได้อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อทำให้พอลิโพรพิลีนคาร์บอเนตที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง มีความเสถียรและ
อายุการใช้งานยาวนานมากยิ่งขึ้น

ผลงานโดย คุณนิศาชล คงธารา ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

เครดิตภาพ
– Background photo created by freepik – www.freepik.com
– ภาพโดย Pete Linforth จาก Pixabay

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th