พอลิแล็กติกแอซิดผสมโอเลฟินส์ พอลิเมอร์จากแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติผสมกับสารปิโตรเคมี เพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์พลาสติกให้ดีเพียงพอพร้อมนำไปใช้งาน

พอลิแล็กติกแอซิดเป็นพลาสติกที่ผลิตจากกรดแล็กติกที่ได้จากการหมักแป้งและน้ำตาลในอ้อย ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง มีสมบัติเด่นคือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และผลิตจากพืชซึ่งปลูกทดแทนได้ อย่างไรก็ตาม
พอลิแล็กติกแอซิดมีความเปราะ ทำให้มีข้อจำกัดในการนำไปใช้งาน นักวิจัยจึงปรับปรุงคุณสมบัติดังกล่าวด้วยการผสมสารปิโตรเคมีกลุ่มโอเลฟินส์เข้าไปด้วย อาทิ พอลิเอทิลีนและพอลิโพรพิลีน ซึ่งมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีกว่า

การขึ้นรูปชิ้นงานใช้เครื่องหลอมอัดรีดพลาสติกให้เป็นแผ่นฟิล์ม โดยเติมพอลิแล็กติกแอซิดและ
สารโอเลฟินส์ลงในเครื่องซึ่งมีสกรูดันสารไปยังส่วนหน้าของเครื่อง ภายในมีการให้ความร้อนเพื่อให้สารเกิด
การหลอมเหลวและผสมกัน ก่อนที่เครื่องจะฉีดส่วนผสมนั้นเข้าสู่แม่พิมพ์ที่หล่อด้วยความเย็นแล้วรีดออก ซึ่ง
ทำให้ผลิตผลที่ได้แข็งตัวกลายเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติก

การศึกษาในเบื้องต้นพบว่าความเร็วของสกรูส่งผลต่อการผสมกันระหว่างพลาสติกสองชนิด ซึ่งทำให้ชิ้นงานที่ได้มีโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และสมบัติทางความร้อนเปลี่ยนไป โดยนักวิจัยกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์พลาสติกจากพอลิแล็กติกแอซิดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย รวมทั้งเป็นวัสดุปลูกถ่ายที่ใช้ทางการแพทย์

ผลงานโดย คุณกันตพงศ์ สำลีแก้ว ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์ฉาย ทองปิ่น ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

เครดิตภาพ
– ภาพโดย Adrian Malec จาก Pixabay
– ภาพโดย Alexey Hulsov จาก Pixabay
– ภาพโดย CommsEditors101 จาก Pixabay

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th