พอลิแลคติกแอซิดผสมไทเทเนียมไดออกไซด์และซิลิกา พลาสติกชีวภาพที่เติมแต่งอนุภาคโลหะขนาด
นาโนเข้าไป ให้ความแข็งแรงทั้งทนทานและทนความร้อน

วัสดุผสมชนิดใหม่นี้ มีอนุภาคขนาดนาโนของไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิลิกากระจายตัวในเนื้อ
พอลิแลคติกแอซิด ซึ่งวัตถุดิบได้จากการหมักแป้งและน้ำตาลจากพืช เช่น อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง จึงสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ส่วนอนุภาคโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการโซล-เจล โดยใช้ไทเทเนียมไอโซโพรพรอกไซด์และเททระเอทิลออร์โทซิลิเกตเป็นสารตั้งต้น จากนั้นนำอนุภาคที่ได้ไปขึ้นรูปร่วมกับ
พอลิแลคติกแอซิดให้เป็นแผ่นฟิล์มบาง

หลังทดสอบพบว่าฟิล์มพลาสติกที่ได้ทนทานต่อแรงดึงและมีความเสถียรทางความร้อนมากกว่าฟิล์มพอลิแลคติกแอซิดบริสุทธิ์ โดยอนุภาคของโลหะดังกล่าวยังเข้ากันได้ดีกับเซลล์ในร่างกาย ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรวมถึงในทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

ผลงานโดย คุณอาภาภรณ์ เทียมสินสังวร ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ยุพาพร รักสกุลพิวัฒน์ สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th