วัสดุตัวเก็บประจุยิ่งยวดชนิดใหม่ ผลิตจากพอลิอะนิลีนที่นำไฟฟ้าได้ บนแผ่นพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์คอมเพล็กซ์ ส่วนอีกชนิดผลิตจากพอลิอะนิลีนบนพอลิอิเล็กโตรไลต์มัลทิเลเยอร์ นำไปใช้เป็นขั้วพอลิเมอร์แบบยืดหยุ่นที่ประจุไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พอลิอะนิลีนเป็นพอลิเมอร์นำไฟฟ้า ซึ่งสามารถใช้งานเป็นขั้วไฟฟ้าในตัวเก็บประจุยิ่งยวด อันประกอบไปด้วยขั้วบวกกับขั้วลบและแผ่นเมมเบรนที่กั้นระหว่างสองขั้ว กักเก็บและคายประจุไฟฟ้ารวดเร็ว จึงให้พลังงานไฟฟ้าได้ดี โดยงานนี้เตรียมขั้วไฟฟ้าพอลิอะนิลีนด้วยสองวิธี วิธีแรกเตรียมพอลิอะนิลีนบนแผ่นพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์คอมเพล็กซ์ที่ทำจากพอลิสไตรีนซัลโฟเนต พอลิไดอัลลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ และผสมคาร์บอนลงไปด้วย

ส่วนวิธีที่สองเตรียมพอลิอะนิลีนบนพอลิอิเล็กโตรไลต์มัลทิเลเยอร์ที่ทำจากพอลิสไตรีนซัลโฟเนตและพอลิไดอัลลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์บนแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งคาดว่าขั้วไฟฟ้าสองชนิดนี้จะมีทั้งความยืดหยุ่น และช่วยเพิ่มความสามารถในการประจุไฟฟ้าได้ ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชาร์จไฟเต็มเร็ว เพื่อการใช้งานได้อย่างเต็มที่ เมื่อไฟหมดแล้วก็ยังวนกลับมาชาร์จใหม่ซ้ำไปมาได้อีกยาวนาน

ผลงานโดย คุณพิศุทธิ์ วิจิตรเศรษฐกุล ทีมวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.สเตฟาน ดูบาส วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬามหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th