แพลทินัมผสมทังสเตนคาร์ไบด์ ตัวเร่งใหม่ที่แรงดังโลหะแพลทินัม แต่มีราคาถูกกว่า พร้อมเร่งปฏิกิริยาในเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอนแบบผันกลับได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องป้อนก๊าซเชื้อเพลิงอื่น ๆ นอกเหนือจากน้ำจากภายนอกเข้าไป ได้กระแสไฟฟ้าไว้ใช้ ของเสียจากกระบวนการก็มีแค่น้ำ จึงนับเป็นพลังงานที่สะอาดสุด ๆ เซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ทำงานที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งปฏิกิริยาการแยกสลายตัวของน้ำที่ขั้วไฟฟ้าตอนเริ่มต้นกระบวนการ เกิดขึ้นได้ช้าหากไม่ใช้ศักย์ไฟฟ้าสูงหรือใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น แพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอน ซึ่งมีราคาแพง จึงต้องผสมโลหะอย่างทังสเตนเข้าไป เพราะมีราคาถูก และทนต่อการถูกกัดกร่อนได้ดี

โดยต้องนำไปผสมกับคาร์บอนให้อยู่ในรูปทังสเตนคาร์ไบด์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำไฟฟ้า พร้อมเพิ่มพื้นที่ผิวในการเร่งปฏิกิริยาให้ดีขึ้น สุดท้ายเมื่อผสมแพลทินัมกับทังสเตนคาร์ไบด์เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้งานในเซลล์เชื้อเพลิงดังกล่าวนั่นเอง

ผลงานโดย คุณอุไรวรรณ พวงจิตร ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.เก็จวลี พฤกษาทร ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th