พอลิแล็กติดแอซิดผสมคาร์บอนที่มีทั้งซิลเวอร์ไอออนและทังสเตนคาร์ไบด์ ช่วยให้พอลิแล็กติกแอซิดหรือพีแอลเอซึ่งเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มีความแข็งแรงและสามารถต้านแบคทีเรียได้ โดยคาร์บอนที่เติมแต่งเข้าไปในพลาสติกถูกผลิตด้วยเทคโนโลยีพลาสมา

ในการผลิตคาร์บอนใช้ขั้วไฟฟ้าทังสเตนจุ่มลงในสารละลายที่ประกอบด้วยน้ำมันปาล์มอันเป็นแหล่งของคาร์บอนและผสมอยู่กับซิลเวอร์ไอออน โดยทังสเตนจะกร่อนลงมารวมกับสารอื่น ๆ จนได้เป็นคาร์บอนที่ประกอบด้วยอนุภาคนาโนของทังสเตนคาร์ไบด์และซิลเวอร์ในสารละลาย เมื่อนำไปเตรียมเป็นวัสดุผสมร่วมกับพอลิแล็กติกแอซิดจะได้วัสดุชนิดใหม่ที่แข็งแรงทนทาน ทั้งยังสามารถต้านแบคทีเรียชนิดอีโคไลและ
สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส จึงมีประสิทธิภาพในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หรือนำไปประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์

ผลงานโดย คุณณิชาภัทร์ บุญยืน ทีมวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา รุจิรวนิช วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th