ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดีนัมซัลไฟด์ ใช้ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันใช้แล้วก็ได้ ได้เชื้อเพลิงที่เผาไหม้ให้พลังงานได้ดี และมีกำมะถันในปริมาณน้อย ทั้งยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มาก จึงสะอาดเกือบปราศจากมลพิษตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดีนัมซัลไฟด์ มีประสิทธิภาพใช้ในกระบวนการไฮโดรทรีตติงหรือการกำจัดออกซิเจนออกจากโมเลกุลน้ำมัน เพื่อเปลี่ยนน้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันใช้แล้วให้เป็นไบโอดีเซล ได้น้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับน้ำมันดีเซลปิโตรเลียม มีความเสถียรทางความร้อน เมื่อเผาไหม้แล้วให้พลังงานสูง แต่กลับให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า อีกทั้งมีกำมะถันปนเปื้อนในปริมาณน้อย จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ช่วยลดโลกร้อน แถมยังเพิ่มแนวทางในการสร้างพลังงานสะอาด และโอกาสในการแปรรูปปาล์มน้ำมันที่สามารถปลูกทดแทนได้ อีกหนึ่งผลงานที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

ผลงานโดย คุณพจวรรณ เอี่ยมศิริ ทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th