น่ากังวลว่าหลังจากถอนฟันแล้วกระดูกรองรับฟันอาจสลายตัวจนเกิดปัญหาตามมา เช่น กระดูกขากรรไกรมีรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม ใบหน้าบิดเบี้ยว การทำงานภายในช่องปากผิดปกติ ตลอดจนส่งผลต่อการรักษาทางทันตกรรมอื่น ๆ ทำให้ต้องมีการปลูกถ่ายวัสดุทางการแพทย์เพื่อคงสภาพของกระดูกรองรับฟัน อย่างไรก็ดี วัสดุเหล่านั้นมักไม่สามารถเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกได้ ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน จึงต้องการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟัน เข้ากันได้ดีกับร่างกาย ทั้งยังมีความสามารถในการเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกใหม่ โดยได้ศึกษาผลของนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง และพื้นที่ผิว ต่อประสิทธิภาพในการสร้างกระดูก ทั้งนี้ มุ่งหวังว่าจะพัฒนาเป็นระบบนำส่งพอลินิวคลีโอไทด์ที่สามารถเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกในระดับเซลล์ เพื่อเสริมให้การรักษาดียิ่งขึ้น

การสังเคราะห์อนุภาคไฮดรอกซีอะพาไทต์ระดับนาโนเมตรเพื่อนำส่งพอลินิวคลีโอไทด์ในงานทันตกรรม วิจัยและพัฒนาโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ, เฟสบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th