บำบัดน้ำเสียจากโรงกลั่นแอลกอฮอล์ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ เปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำสะอาด ได้ก๊าซมีเทนเอาไปใช้ต่อในโรงงาน ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ช่วยประหยัดต้นทุนและลดโลกร้อนกระบวนการนี้เรียกว่า การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งอินทรีย์วัตถุจะถูกย่อยสลายด้วยเชื้อจุลินทรีย์จนกลายเป็นก๊าซชีวภาพที่รวมถึงก๊าซมีเทนด้วยเช่นกัน โดยต้องควบคุมสภาวะให้เหมาะสมต่อการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ อันได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ชนิดและปริมาณสารอาหารในน้ำ พร้อมทั้งต้องกำจัดสารพิษ เช่น โพแทสเซียมและซัลเฟต ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์

นักวิจัยจึงพัฒนากระบวนการบำบัดน้ำเสียจากโรงกลั่นแอลกอฮอล์ด้วยวิธีดังกล่าวในถังปฏิกรณ์ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยใช้วิธีเจือจางและปรับสภาพน้ำเสียด้วยน้ำปราศจากไอออน นอกจากนี้ ยังเติมสารอาหารเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตและผลิตก๊าซมีเทนได้อย่างมีประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วยเทคนิคนี้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมสองต่อ เพราะนอกจากจะได้น้ำสะอาดแล้วก็ยังได้พลังงานทดแทนไว้ใช้ในโรงงานอีกด้วย

ผลงานโดย คุณสุภนิจ เอี่ยมจินดา ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ชวเดช วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th