แบตเตอรี่เปรียบได้กับหัวใจของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยทำหน้าที่สะสมและปลดปล่อยพลังงาน แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนกำลังได้รับความสนใจ เพราะมีความหนาแน่นพลังงานสูงและน้ำหนักเบา ทว่ามีราคาแพง รวมถึงอาจไม่ปลอดภัยเท่าแบตเตอรี่จำพวกโลหะ-อากาศอย่างแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ให้พลังงานสูง ซ้ำยังมีน้ำหนักเบากว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน อย่างไรก็ดี แบตเตอรี่โลหะ-อากาศเกิดปฏิกิริยาได้ค่อนข้างเฉื่อย ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.รจนา พรประเสริฐสุข จึงทดลองเตรียมวัสดุโลหะออกไซด์ร่วมกับเส้นใยนาโนคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวในการเร่งปฏิกิริยามาก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่โลหะ-อากาศ นอกจากนี้ ยังมีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอีกด้วย

การเตรียมโลหะออกไซด์ร่วมกับเส้นใยนาโนคาร์บอนเพื่อประยุกต์ใช้ในแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.รจนา พรประเสริฐสุข ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ, เฟสบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th