มวลรวมเบาผลิตจากเถ้าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ถูกเผาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อให้ความร้อนและกระแสไฟฟ้า ใหม่กว่าด้วยการปั้นโดยไม่ใช้ความร้อน ได้ก้อนขี้เถ้ามวลรวมเบาเอาไว้เสริมแรงในคอนกรีต

แกลบข้าว ชานอ้อย ปาล์มน้ำมัน และเยื่อกระดาษ นำไปเผาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ แต่ทำให้เกิดเถ้าชีวมวลเป็นของเสีย ซึ่งฟุ้งกระจายง่าย ปล่อยทิ้งไปก็เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทว่าต่อไปนี้เผาชีวมวลแล้วขี้เถ้าจะไม่ไปไหน เพราะนำไปแปรรูปเป็นมวลรวมเบาสำหรับใช้เป็นวัสดุเทียมในคอนกรีตได้ โดยเติมผงขี้เถ้าลงในเครื่องปั้นขณะที่จานกำลังหมุน แล้วเติมวัสดุประสานอย่างซีเมนต์กับน้ำ และสารอื่น ๆ ตามลงไป เพื่อให้อนุภาคจับตัวกันเป็นเม็ดมวลรวม ซึ่งมีสมบัติเหมาะสมพร้อมใช้งานเป็นวัสดุเสริมแรงในคอนกรีตมวลเบา ทั้งในแง่ความหนาแน่นและความแข็งแรง อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยขยายห่วงโซ่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเกษตร เริ่มตั้งแต่ตอนที่พืชผลิดอกออกผลตลอดจนเมื่อเผาชีวมวลทิ้งไป ก็ยังได้ขี้เถ้าเอาไว้ใช้ในงานวัสดุก่อสร้าง

ผลงานโดย คุณอรปิยะ อังอติชาติ ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th