จากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนที่ในปัจจุบัน สาเหตุหลักอันหนึ่งเป็นผลมาจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีปริมาณมากซึ่งถูกผลิตขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ทำให้เกิดงานวิจัยสำหรับพลังงานทางเลือกอย่างมากมาย เช่น เชื้อเพลิงจากชีวมวล โซลาร์เซลล์ เป็นต้น รวมทั้งงานวิจัยที่ศึกษาการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น เมทานอล เป็นต้น ดังนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยสังกัดภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จึงศึกษาการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเส้นใย ซึ่งได้จากการนำ Silica fiber ที่เตรียมจากวิธี Electrospinning มาผ่านกระบวนการ Steam Reforming ให้เกิดเป็น Carbon nanotubes-Silica fiber catalyst เปรียบเทียบกับการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบทรงกลม หรือ Carbon Sphere มาทำให้มีรูพรุน โดยตัวเร่งทั้งสองจะใช้ในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชั่นของคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสังเคราะห์เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน
จากงานวิจัยที่กล่าวมานี้เป็นการหาตัวเร่งปฏิกิริยาพร้อมทั้งสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสังเคราะห์เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารตั้งต้นเพื่อสร้างเชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 หรือ www.petromat.org

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th