พอลิแลกติกแอซิดเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผลิตจากกรดแลกติก มีข้อดีตรงที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทว่ามีราคาแพง เพราะหลังหมักแป้งจากวัตถุดิบการเกษตรอย่างข้าวโพดจนได้กรดแลกติกแล้ว ต้องถูกกลั่นให้บริสุทธิ์เพื่อกำจัดสารเจือปนออก ซึ่งใช้พลังงานสิ้นเปลือง ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์ จึงพยายามหาแนวทางลดต้นทุนผลิต โดยใช้วิธีนาโนฟิลเทรชันหรือการกรองผ่านเยื่อรูพรุนระดับนาโน ร่วมกับเพอร์แวปพอเรชันที่ใช้เยื่อรูพรุนแยกกรดแลกติกกับน้ำออกจากกัน ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้ไม่ยาก โดยทีมวิจัยได้สังเคราะห์เยื่อรูพรุนจากวัสดุผสมระหว่างพอลิเบนซอกซาซีนกับซีโอไลต์เพื่อใช้แยกกรดแลกติกออกจากน้ำ ก่อนจะนำไปผลิตพอลิแลกติกแอซิดที่สามารถแข่งขันทางราคากับพลาสติกปิโตรเคมี

การเตรียมเยื่อคอมโพสิตที่ใช้แยกกรดแลกติกในกระบวนการเพอร์แวปพอเรชันเพื่อนำไปผลิตพอลิแลกติกแอซิด วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ, เฟสบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th