แอลพีจีหรือที่รู้จักกันดีในชื่อก๊าซหุงต้ม มีความต้องการสูงในประเทศไทย แต่รู้ไหมว่าสามารถผลิตได้จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสองชนิดในสามกระบวนการงานวิจัยนี้ต้องการสังเคราะห์แอลพีจีจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เบ็ดเสร็จในเครื่องปฏิกรณ์ที่เดียว จึงใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสมกันระหว่างโลหะกับซีโอไลต์ และป้อนก๊าซไฮโดรเจนเข้าไปในกระบวนการด้วย โดยตัวเร่งประเภทโลหะจะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเมทิลแอลกอฮอล์ ต่อจากนั้นตัวเร่งประเภทซีโอไลต์จะเปลี่ยนเมทิลแอลกอฮอล์ให้เป็นไดเมทิลอีเทอร์และแอลพีจีตามลำดับ ซึ่งพบว่าสภาวะของกระบวนการทั้งรูปแบบการผสมและสัดส่วนของตัวเร่งสองชนิด อุณหภูมิ ฯลฯ ต่างก็มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยได้ร้อยละการเลือกเกิดแอลพีจีสูงสุดเกือบร้อยละ 70 งานนี้จึงช่วยลดภาวะโลกร้อนโดยหมุนเวียนคาร์บอนจากการเผาไหม้ให้เป็นพลังงานที่สามารถนำไปใช้ได้ใหม่

ผลงานโดย คุณจารุ นาถกรณกุล ทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th