ไม่นานมานี้ พลาสติกชีวภาพเริ่มมีบทบาทในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก พอลิแลกติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซักซิเนตสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติในระยะเวลาไม่นาน โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมใช้ครั้งเดียวทิ้งของผู้บริโภค ทว่าพลาสติกชีวภาพในท้องตลาดแพงกว่าพลาสติกปิโตรเคมีหนึ่งถึงสองเท่าตัว จนอาจไม่ได้รับความสนใจในการใช้ทดแทนพลาสติกปิโตรเคมี จึงต้องได้รับการเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม ดังเช่น ฟิล์มหายใจได้ โดยทีมวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย ได้เสนอแนวคิดเติมแต่งสารที่ถูกปรับโครงสร้างทางเคมีให้มีหลายกิ่งก้านลงในพลาสติกชีวภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมการไหลผ่านเข้าออกของอากาศ ไอน้ำ และก๊าซเอทิลีน ซึ่งจะช่วยยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และตอบสนองความต้องการผู้บริโภคไปอีกขั้น

การสร้างความต้องการพลาสติกชีวภาพภายใต้การผลักดันด้วยเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด ศึกษาโดยศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th