ใครเคยตรวจวัดสารชีวภาพ เช่น ตรวจคัดกรองโรคบางชนิด อาจนึกถึงอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดสารได้แม้ใช้ในปริมาณน้อยนิด แต่กลับให้ผลการตรวจที่รวดเร็วและแม่นยำ อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า ไบโอเซนเซอร์ ซึ่งส่วนขั้วไฟฟ้าต้องสามารถจับกับสารที่ต้องการตรวจวัด และต้องมีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดีด้วย ศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงสนใจเตรียมขั้วไฟฟ้าที่เคลือบด้วยอนุพันธ์ของพอลิอะนิลีนที่นำไฟฟ้าได้ แล้วตรึงสารอีกชนิดซึ่งมีความสามารถในการจับกับสารที่ต้องการตรวจวัด โดยทีมวิจัยได้เตรียมอนุภาคของพอลิอะนิลีนให้มีรูปร่างต่าง ๆ และมีขนาดในระดับนาโนเมตร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำไฟฟ้า จากนั้นได้ทดลองวัดค่าการนำไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าที่เตรียมขึ้น เพื่อพัฒนาไบโอเซนเซอร์ให้สามารถตรวจวัดสารได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาไบโอเซนเซอร์ให้มีความสามารถในการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th