ท่ามกลางวิกฤตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะส่วนมากยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงจากแหล่งปิโตรเลียม ที่ใช้แล้วหมดไป อีกทั้งประเทศไทยมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ต่างจากไบโอดีเซลจากสินค้าเกษตรของเราอย่างต้นปาล์มน้ำมันที่สามารถปลูกทดแทนได้ ทั้งยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสนับสนุนแนวคิดพลังงานหมุนเวียน ทว่าไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันปาล์มอาจเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศและยังทำให้น้ำมันไหลเทที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี จนส่งผลเสียต่อคุณภาพโดยรวมของไบโอดีเซล ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ จึงได้นำน้ำมันปาล์มมาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนโดยเร่งปฏิกิริยาด้วยโลหะนิกเกลบนตัวรองรับคาร์บอน เพื่อทำให้ไขมันอิ่มตัวมากขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังสนใจปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไบโอดีเซลให้สามารถใช้งานได้ทั้งในรถยนต์และบนเครื่องบิน

การเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มด้วยการเติมไฮโดรเจนที่อุณหภูมิต่ำโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกลบนตัวรองรับคาร์บอน วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th