ฟิล์มห่ออาหารผลิตจากเส้นใยเซลลูโลสในใบสับปะรด ซึ่งถูกสกัดและย่อยจนมีขนาดโมเลกุลระดับนาโน พร้อมดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีให้สามารถกันรังสียูวี ช่วยถนอมให้อาหารสดใหม่ แถมย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

ใบสับปะรดถูกทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ดูเหมือนไร้ราคาแต่ในนั้นมีเส้นใยเซลลูโลสในปริมาณมาก ซึ่งถูกสกัดทำเป็นแผ่นฟิล์มห่ออาหารได้ โดยย่อยเส้นใยเซลลูโลสด้วยกรดซัลฟูริกจนมีขนาดโมเลกุลเล็กในระดับนาโน แล้วนำสารละลายไปขึ้นรูปให้เป็นแผ่น ซึ่งได้รับการปรับปรุงสูตรให้มีคุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติทางความร้อนเหมาะสมกับการใช้งานเป็นฟิล์มถนอมอาหาร นอกจากนี้ เซลลูโลสยังถูกดัดแปลงโครงสร้างด้วยสารซินนาโมอิลคลอไรด์ ให้มีหมู่ซินนาเมตที่สามารถดูดซับรังสียูวี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถนอมอาหารให้ยาวนานยิ่งขึ้น ช่วยเปลี่ยนขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายได้ราคาดี

ผลงานโดย คุณกนกพร พรเบ็ญจา ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภีรพรรณ ดิษฐเนตร ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

เครดิตภาพ
– Designed by macrovector / Freepik
– OpenClipart-Vectors from Pixabay

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th