ยางรถเก่าเอาไปรีไซเคิลเป็นวัสดุใหม่ ใช้ดูดซับโลหะหนักในการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่ากระบวนการอื่น เช่น การกรองและการตกตะกอน แต่ทำให้มีประสิทธิภาพได้ดีไม่แพ้กัน

วัสดุดูดซับนั้นต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสามารถในการจับกับโลหะหนัก ซึ่งวิธีทางกายภาพทำได้ด้วยการลดขนาดอนุภาคและการเพิ่มปริมาณรูพรุนให้วัสดุมีพื้นที่ผิวมากขึ้น และปรับปรุงให้สามารถจับกับโลหะหนักในน้ำได้ดีโดยเพิ่มหมู่ทางเคมี เช่น สารอีดีทีเอ บนพื้นผิวของวัสดุเข้าไป

ในงานวิจัยนี้ เตรียมวัสดุดูดซับโดยนำผงยางรถเก่าไปเผาที่อุณหภูมิสูง แล้วตรวจสอบพื้นที่ผิวของวัสดุที่ได้ ก่อนจะนำสูตรที่ดีที่สุดไปปรับปรุงด้วยการเพิ่มหมู่ทางเคมีบนพื้นผิว จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เหมืองแร่ แบตเตอรี่ ฯลฯ ช่วยลดทั้งมลพิษทางน้ำ และเป็นแนวทางในการนำขยะยางรถเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง

ผลงานโดย คุณพิมลวัลย์ บุญโกย ทีมวิจัยของ อาจารย์ ดร.อรทัย บุญดำเนิน ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.มัณทนา โอภาประกาสิต ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

เครดิตภาพ
– ภาพโดย 俊 何 จาก Pixabay
– ภาพโดย petitgiovanni จาก Pixabay

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th