คงจะดีไม่น้อยถ้านวัตกรรมด้านวัสดุทางการแพทย์จะช่วยสร้างกระดูกเทียมทดแทนของเดิมที่เสียหายได้ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะแทบไม่มีข้อจำกัดด้านการขึ้นรูปวัสดุ ซึ่งตัวอย่างพลาสติกที่สามารถนำมาใช้ขึ้นรูปได้ เช่น ABS, PET, PLA และ PU ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช จึงสนใจสร้างกระดูกเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติโดยใช้พลาสติกชีวภาพชนิด PLA และ PBS ร่วมกับสารเติมแต่งอย่างกราฟีนที่แข็งแรง มีน้ำหนักเบา มีสมบัติทางความร้อนและทางไฟฟ้าที่ดี ทั้งยังอาจต้านเชื้อโรคได้อีกด้วย โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตชิ้นงาน รวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพและทางชีวภาพของวัสดุ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากระดูกเทียมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงโดยคาดหวังว่าจะเข้ากันได้ดีกับร่างกายของผู้ป่วย

การพิมพ์กระดูกเทียมสามมิติจากพลาสติกชีวภาพเติมด้วยกราฟีน วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาฯ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2, เฟสบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th