ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นำไปรีไซเคิลให้เป็นสารไซคลิกคาร์บอเนต เอาไว้ใช้ผลิตพลาสติกประเภทพอลิคาร์บอเนต หรือใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรี่ลิเทียมก็ได้ โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับสารอีพ็อกไซด์ในการสังเคราะห์ไซคลิกคาร์บอเนต ซึ่งต้องใช้ตัวเร่งร่วมด้วยในกระบวนการไซโคลแอดดิชัน งานนี้ตัวเร่งปฏิกิริยา คือ อนุภาคโลหะขนาดนาโนบนตัวรองรับไททาโนซิลิคาไลต์ ซึ่งไม่เป็นเนื้อเดียวกับสารผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถแยกออกจากกันแล้วนำตัวเร่งกลับมาใช้ซ้ำได้

ในการสังเคราะห์ตัวเร่งเริ่มจากการเตรียมตัวรองรับไททาโนซิลิกาไลต์โดยใช้ไทเทเนียมบิวท็อกไซด์และเททระออร์โทซิลิเกต ต่อมาตรึงอนุภาคโลหะบนตัวรองรับดังกล่าว แล้วนำตัวเร่งที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในการสังเคราะห์ไซคลิกคาร์บอเนตจากคาร์บอนไดออกไซด์ นับเป็นอีกวิธีใหม่ในการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกให้เป็นสารเคมีที่มีมูลค่า พร้อมช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน

ผลงานโดย คุณชุติมา ตังกุ ทีมวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาค อนุตรศักดา ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th