ผักตบชวา ลอยเป็นแพในลำคลองจนกีดขวางทางระบาย ซ้ำยังทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้ระบบนิเวศในน้ำถูกทำลาย ที่ผ่านมามักถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมัก ส่วนที่เหลือก็ต้องนำไปกำจัดทิ้ง ทีมวิจัยของผู้ศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล จึงมีแนวคิดใช้ประโยชน์จากผักตบชวาในงานวิจัย ด้วยการสังเคราะห์วัสดุที่มีรูพรุนขนาดเล็กในปริมาณมากหรือพอลิไฮป์ โดยใช้เทคนิคทางพอลิเมอร์จากสารตั้งต้นสไตรีนและไดไวนิลเบนซีน แล้วเติมเส้นใยเซลลูโลสจากต้นผักตบชวาที่เด่นในด้านความแข็งแรง ทั้งยังอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งพบว่าพอลิเมอร์ที่เติมเซลลูโลสจากผักตบชวาเข้าไป ยืดหยุ่นและทนต่อการถูกกดอัดมากขึ้น ถึงแม้ว่าปริมาณรูพรุนจะลดลงและขนาดของรูจะใหญ่ขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ พอลิไฮป์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยอื่น ๆ เช่น เป็นตัวดูดซับก๊าซหรือตัวรองรับสำหรับงานด้านตัวเร่งปฏิกิริยา รวมทั้งเป็นโครงเลี้ยงเซลล์ในงานด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อได้เช่นกัน

วัสดุรูพรุนเติมด้วยเซลลูโลสจากผักตบชวา เป็นผลงานวิจัยของผู้ศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาฯ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 หรือ www.petromat.org, เฟสบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th