รถยนต์ไฟฟ้า จะวิ่งได้รวดเร็วต้องใช้แบตเตอรี่คุณภาพดี วัสดุที่นำไปผลิตเป็นแบตเตอรี่ จึงต้องให้พลังงานสูง ทั้งยังต้องมีปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แบตเตอรี่แบบอัดประจุไฟฟ้าใหม่ชนิดสังกะสี-อากาศ หรือ ZABs มีข้อจำกัดเนื่องด้วยปฏิกิริยาเคมีที่ขั้วอากาศเกิดช้าเกินไป ทำให้ต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาประสิทธิภาพสูงจำพวกแพลตตินัม หรืออิริเดียมผสมกับรูบิเดียม อย่างไรก็ตาม โลหะมีค่าเหล่านี้หายากและมีราคาแพงมาก ส่งผลให้ต้องทดแทนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำจากโลหะผสม

โดยทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.นิสิต ตัณฑวิเชฐ ได้สังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์นิกเกลซัลไฟด์และนิกเกลโคบอลต์ซัลไฟด์ ที่นิยมใช้ในตัวเก็บประจุยิ่งยวด แต่ยังไม่ได้รับความสนใจเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในแบตเตอรี่แบบอัดประจุไฟฟ้าใหม่ชนิดสังกะสี-อากาศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแตกแขนงองค์ความรู้ด้านตัวเร่งปฏิกิริยาออกไปจากแนวคิดเดิม

การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยากลุ่มโคบอลต์ออกไซด์ เพื่อใช้ในแบตเตอรี่แบบอัดประจุไฟฟ้าใหม่ชนิดสังกะสี-อากาศ วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.นิสิต ตัณฑวิเชฐ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาฯ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th