Metaverse กับ อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย

Metaverse” คำศัพท์แห่งอนาคตที่กลายเป็นที่นิยมและได้รับการพูดถึงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ “Mark Zuckerberg” ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO “Facebook” ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “Meta” เพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ระยะต่อไปที่เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดียและเพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในอนาคต วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “Metaverse” และบทบาทที่สำคัญของ Metaverse ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคตได้อย่างไร ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ

Metaverse คืออะไร ?

Metaverse” มาจากคำว่า “Meta” ที่แปลว่า เหนือกว่า พ้น เกินขอบเขต กับคำว่า “Universe” ที่แปลว่าจักรวาล เมื่อนำมารวมกันได้ความหมายว่า โลกที่พ้นขอบเขตไปแล้ว หรือ จักรวาลที่พ้นขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ จะหมายถึง แนวคิดในการสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ชุมชนโลกเสมือนจริง” ที่สามารถผสานวัตถุรอบตัวและสภาพแวดล้อมให้เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว สำหรับภาษาไทย ยังไม่มีความหมายและคำศัพท์ที่ใช้แทนคำว่า Metaverse ที่ชัดเจน โดยล่าสุด ราชบัณฑิตยสภาฯ ได้บัญญัติคำศัพท์ เพื่อใช้เรียก Metaverse ในภาษาไทย ว่า “จักรวาลนฤมิต” ในความเป็นจริงแล้ว Metaverse มีจุดเริ่มต้นมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson นักเขียนชาวอเมริกัน ในปี 1992 ที่เล่าเรื่องราวของโลกในยุคอนาคตที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันผ่านเทคโนโลยีในโลกเสมือนจริง และได้กลายเป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างโลก Metaverse ในปัจจุบัน

บทบาทของ Metaverse กับอุตสาหกรรมการผลิต

แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Metaverse มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา และมีแนวโน้มที่จะมีแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นได้อีกตามการพัฒนาของเทคโนโลยี Metaverse ที่ก้าวล้ำมากขึ้น ปัจจุบัน ได้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมของโลกได้เริ่มทดลองนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้งาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม การสร้างโลกเสมือนดังกล่าว ต้องมีต้นทุนการลงทุนและบริหารจัดการค่อนข้างสูง ทำให้การริเริ่มการลงทุนมักต้องเริ่มจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็นพันธมิตรก็อาจจะช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามสัดส่วนการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทาน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Metaverse ที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน มีดังนี้

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
  petromat@chula.ac.th