จัดงานอย่างไร…ให้ยั่งยืนและคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดงานอีเวนต์ ที่มีการใช้พลังงานหลายส่วนและขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมาย จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้จัดงาน ร่วมใจกันสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการจัดงานแบบยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม

สำหรับประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization) : TCEB) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO) ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืนโดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs)

อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) คือ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และพัฒนาการจัดงานอีเวนต์ ทั้งในระดับองค์กรภูมิภาคไปจนถึงระดับนานาชาติ ซึ่งคำว่า “MICE” มาจาก
M = Meetings การประชุมสัมมนาระดับองค์กร การศึกษาดูงานทั้งระดับกลุ่มบุคคลจากองค์กรเดียวกันหรือต่างองค์กร โดยจะเป็นการประชุมเฉพาะกิจหรือมีการวางแผนล่วงหน้า
I = Incentives การจัดการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานหรือบุคคลที่ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายขององค์กร
C = Conventions / Conferences การประชุมสมาคมวิชาชีพของสมาคมวิชาชีพเดียวกันหรือแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดประชุมระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับนานาชาติ
E = Exhibitions คือ การจัดงานแสดงสินค้าเพื่อกลุ่มเป้าหมายแต่ละอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยอาจจะเป็นการแสดงสินค้าระหว่างคนทำธุรกิจด้วยกัน (Business – to – Business (B2B)) หรือ เปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ (Business – to – Consumer (B2C)) โดยมีการจัดงานแสดงสินค้าระหว่างผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ควบคู่ไปกับผู้บริโภค

TCEB และ TGO ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน เป็นคู่มือสำหรับผู้จัดงานที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมการจัดงานตั้งแต่ต้นจนจบสามารถดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ https://bit.ly/3G5bNWI
นอกจากคู่มือแนวทางปฏิบัติฯ ดังกล่าวแล้ว TGO และ TCEB ได้จัดทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนจากการจัดงานอีเวนต์ โดยคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ปล่อยจากการจัดงานตั้งแต่ก่อนเริ่มจนจบงาน เช่น การเดินทาง การพักแรม อาหาร ของแจก ของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน และผู้จัดงานสามารถทำการชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการจัดงาน (Carbon Offset) ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณการปล่อยเพื่อให้งานที่จัดนั้นเป็น “Carbon Neutral Event

หลักการกิจกรรมชดเชยคาร์บอน

1. การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบางส่วน

2. การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดอีเวนต์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

ข้อมูลสำหรับคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการจัดอีเวนต์

ขั้นตอนกิจกรรมชดเชยคาร์บอนสำหรับการจัดงานอีเวนต์

แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนการจัดงาน และ ช่วงหลังจัดงานแล้วเสร็จ โดยการคำนวณคาร์บอนที่ปล่อยจากการจัดงานอีเวนต์ทั้ง 2 ช่วงเวลา และทำการจัดซื้อหรือจัดหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชย ซึ่งสามารถทำการชดเชยได้ทั้งแบบการชดเชยคาร์บอนบางส่วนและการชดเชยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ มีขั้นตอนดังนี้

Carbon Neutral Event Logo สำหรับการจัดอีเวนต์

สำหรับการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดอีเวนต์สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel การคำนวณได้ที่ https://rb.gy/ar3wkm หรือคำนวณผ่านแอปพลิเคชัน “CF Event” สามารถดาวน์โหลดได้ที่ App Store และ Play Store ส่วนรายชื่อผู้จัดหาคาร์บอนเครดิตสำหรับชดเชยสามารถค้นหาได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=WTJOdg

นอกเหนือจากการจัดงานที่จะช่วยลด Carbon Footprint ได้แล้ว ทุกคนยังสามารถมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาได้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ขนส่งสาธารณะในการเดินทางแทนรถส่วนตัว ใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล หรือแยกขยะก่อนทิ้งเป็นต้น และหากผู้จัดงานรวมถึงประชาชนทุกคนสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการจัดงานและจากวิถีชีวิตประจำวันได้ ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับจากองค์กรและผู้จัดงานทั่วโลกในการเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับจัดงานอย่างยั่งยืน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
  petromat@chula.ac.th