แผ่นทดสอบตับอักเสบซี สามารถจับกับสารพันธุกรรมของไวรัสตัวก่อโรคได้เป็นอย่างดี แม้จะมีปริมาณน้อยมากในระดับพิโคโมล รู้ผลง่ายในทันทีด้วยการสังเกตสี จึงมีประสิทธิภาพสำหรับการคัดกรองโรคในเบื้องต้น

แผ่นทดสอบประกอบด้วยตัวรับรู้ทางชีวภาพบนฐานกระดาษ ที่เรียกว่า โพรบไพโรลิดินิลพีเอ็นเอ ซึ่งจับกับสารพันธุกรรมของไวรัสตับอักเสบชนิดซีได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีปริมาณสารตัวอย่างในระดับต่ำมากก็ตาม ทำให้ผู้ป่วยสามารถรู้ผลและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ รวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพร่กระจายไวรัสไปสู่ผู้อื่น เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการหากยังไม่ป่วยถึงขั้นรุนแรง แผ่นทดสอบชนิดนี้จึงช่วยตรวจคัดกรองโรคในเบื้องต้นได้ การวิเคราะห์ผลก็ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่สังเกตการเปลี่ยนแปลงสีด้วยตาเปล่า หรือรับรายงานค่าเป็นตัวเลขผ่านแอปพลิเคชันโดยสแกนผลทดสอบด้วยสมาร์ตโฟน นอกจากนี้แผ่นทดสอบยังมีราคาคุ้มค่า แถมพกพาสะดวกอีกด้วย

ผลงานโดย คุณนราธร นิทรัพย์ ทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th