เซนเซอร์แผ่นฟิล์มผสมแอนโทไซยานิน สารอินทรีย์สีชมพูที่เปลี่ยนสีตัวเองได้ตามสภาพความเป็นกรด-ด่าง ตรวจวัดความสดของอาหารได้ภายใน 5 นาที รวดเร็วทันใจ ราคาถูก พกพาสะดวก ทำง่าย ใช้งานก็ง่าย

แอนโทไซยานินจากแรดิช สารประเภทเดียวกับที่พบได้ในดอกอัญชัญ สามารถเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีออกแดงในสภาวะกรด และเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีออกน้ำเงินในสภาวะด่าง จึงบ่งบอกความสดของอาหารได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อสัมผัสกับเนื้อกุ้งที่เน่าเสียก็จะเปลี่ยนเป็นสีออกน้ำเงิน เพราะในกุ้งเน่ามีสารประกอบเอมีนซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างนั่นเอง

แผ่นฟิล์มทำจากแอนโทไซยานินผสมกับแป้งและเจลาติน ซึ่งเข้ากันทางชีวภาพได้ดี ปลอดภัย ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรวมทั้งกับตัวอย่างอาหาร สามารถนำไปผลิตเป็นชุดทดสอบอย่างง่าย ซึ่งใช้งานได้จริงในช่วงพีเอช 1 – 13 ทั้งที่อุณหภูมิห้อง ตู้เย็น และช่องแช่แข็ง โดยเก็บแผ่นฟิล์มไว้ใช้งานได้สูงถึง 14 วัน

ผลงานโดย คุณกษิฐนันท์ ชยาวนิช ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ อิ่มยิ้ม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th