โคบอลต์-พาลาเดียม-ซีโอไลต์ ตัวเร่งปฏิกิริยาสามสหาย กลายร่างน้ำมันปาล์มให้เป็นไบโอเจ็ตเอาไว้ใช้ในเครื่องบิน ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรธรรมดา พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อม

เตรียมออกเดินทางสู่งานวิจัยแห่งอนาคตไปกับเครื่องบินที่จะใช้ไบโอเจ็ตจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งแต่เดิมประกอบด้วยกรดไขมัน อาทิ กรดปาล์มิติก กรดสเตียริก กรดโอเลอิก ฯลฯ โดยถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการกำจัดออกซิเจนด้วยปฏิกิริยาเคมี อันได้แก่ ดีคาร์บอกซิเลชัน ดีคาร์บอนิลเลชัน และไฮโดรดีออกซิจีเนชัน พร้อมจัดเรียงโครงสร้างโมเลกุลใหม่ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรแครกกิงและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน จนเหมาะสมกับการใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องบิน โดยกระบวนการดังกล่าวใช้ตัวเร่งโคบอลต์พาลาเดียมบนซีโอไลต์ ซึ่งโลหะโคบอลต์มีความเสถียรสูง จึงสามารถใช้ในปฏิกิริยาดีคาร์บอนิลเลชันที่ความดันต่ำ รวมทั้งในปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจีเนชันที่ความดันสูง ส่วนโลหะพาลาเดียมก็มีความว่องไวในปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชัน ในขณะที่ซีโอไลต์ช่วยเร่งการเกิดไฮโดรแครกกิงและไฮโดรไอโซเมอไรเซชันได้ โดยตัวเร่งสามสหายนี้มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำมันปาล์มให้เป็นไบโอเจ็ตได้สูงถึง 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ เพียงพอที่จะบินต่อสู่โลกสีเขียวในอีกไม่ไกล

ผลงานโดย คุณจารุจิต เชาวน์วิจิตร ทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

เครดิตภาพ
– Clker-Free-Vector-Images from Pixabay
– DoomSlayer from Pixabay

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th