บรรจุภัณฑ์ใหม่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพผสมกากเหลือใช้ทางการเกษตร แข็งแรงทนทาน ต้านการซึมผ่านของอากาศได้ จึงใช้เก็บรักษาผักผลไม้ให้สดได้ยาวนาน เสร็จงานก็ทิ้งให้ย่อยสลายไป ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

บรรจุภัณฑ์พลาสติกห่อหุ้มอาหารช่วยควบคุมบรรยากาศ อย่างปริมาณก๊าซและความชื้นที่อยู่ภายใน ทำให้ยืดอายุผลผลิตทางการเกษตรได้ ทว่าพลาสติกปิโตรเคมีไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติ พลาสติกชีวภาพจึงเป็นทางเลือกใหม่ โดยใช้พอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผสมกับกากเหลือใช้ทางการเกษตรพร้อมด้วยสารเชื่อมที่ช่วยประสานวัสดุสองชนิดนี้เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านการซึมผ่านของก๊าซ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นงานให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทั้งแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันแรงกระแทกจากภายนอกได้ดี และมีการซึมผ่านของก๊าซลดลง จึงช่วยคงความสดใหม่ของผักผลไม้ แถมยังย่อยสลายทางชีวภาพได้อีกด้วย

ผลงานโดย คุณวิภาวี กันกำธรวงศ์ ทีมวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

เครดิตภาพ
– Designed by vectorpocket / Freepik

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th