ตัวเร่งปฏิกิริยาทูอินวันได้รับการดัดแปลงเพิ่มฟังก์ชันให้สามารถแปลงน้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลซูโครส และแปลงน้ำตาลซูโครสให้เป็นสารปิโตรเคมี ซึ่งดีกว่าแน่นอน เพราะรวมสองขั้นตอนไว้ในกระบวนการเดียว ได้สารผลิตภัณฑ์เอาไปสังเคราะห์พอลิเมอร์และเชื้อเพลิง ช่วยเพิ่มมูลค่ากากชีวมวล

กากชีวมวลจากพืช เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย ประกอบด้วยเส้นใยทั้งเซลลูโลสและ
เฮมิเซลลูโลส อันเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวโดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสเรียงตัวต่อกันภายในโครงสร้าง ซึ่งสามารถแปลงร่างให้เป็นสารปิโตรเคมีได้ โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดซิลิกาเมโซพอรัสที่ได้รับการดัดแปลงให้มีทั้งส่วนซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างและส่วนซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อแปลงน้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลซูโครสก่อน พร้อมแปลงน้ำตาลซูโครสต่อไปให้เป็นสารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรัล ซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ที่สามารถนำไปใช้สังเคราะห์
พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ พอลิยูริเทน ฯลฯ กระบวนการนี้มีพิษน้อย เพราะใช้น้ำเป็นตัวกลาง ปลอดภัย ใช้ตัวเร่งซ้ำได้อีกหลายครั้ง ช่วยประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา แถมยังช่วยดันราคาผลผลิตทางการเกษตรให้แพงขึ้น

ผลงานโดย คุณนายิกา พนาพิทักษ์กุล ทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

เครดิตภาพ
– Designed by Racool_studio / Freepik
– Designed by rawpixel.com / Freepik

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th