
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พร้อมด้วยความร่วมมือของภาคเอกชนและชุมชนในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินโครงการซึ่งมีการพัฒนาชุมชนบ้านมะพร้าวให้สามารถจัดการกับขยะในพื้นที่ได้ด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ซึ่งมีการตรวจเยี่ยมความคืบหน้าเมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2566 นำโดย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. โดยคุณวรุณ วารัญญานนท์ และ ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย เพื่อนำเสนอผลการดำเนินโครงการในฐานะคณะทำงาน


การจัดการกับขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ต้องมีการแยกขยะที่ต้นทาง สำหรับขยะอินทรีย์นั้นมีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เป็นแกนนำในการนำขยะเศษอาหารไปทดลองเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย โดยตัวหนอนสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ เช่น ไก่ ส่วนมูลหนอนก็สามารถนำไปเป็นปุ๋ยปลูกพืช ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยกำจัดขยะเศษอาหารพร้อมสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน
นอกจากนี้ เศษแก้วและเศษพลาสติกที่ขายไม่ได้นั้นศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติเป็นแกนนำในการนำไปทดลองใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐมวลเบาและวัสดุปูพื้นสำหรับงานก่อสร้าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือ สร้างต้นแบบชุมชนที่สามารถจัดการกับขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จ
[รูปภาพจากเพจเฟซบุ๊ก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ]