ยางพารามีสมบัติยืดหยุ่นได้ดีแต่มีความทนทานต่อแรงดึงต่ำ อีกด้านยางธรรมชาติกำลังถูกยางสังเคราะห์แย่งส่วนแบ่งในตลาดโลก ทางออกจึงอยู่ที่การเพิ่มคุณสมบัติของยางธรรมชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค หนึ่งในวิธีนั้น คือ การใส่สารตัวเติมเซลลูโลสจากพืช ด้วยเหตุนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กษมา จารุกำจร จึงมีแนวคิดนำเซลลูโลสจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย และกากมันสำปะหลัง มาเติมลงไปในเนื้อยาง ซึ่งช่วยเพิ่มสมบัติเชิงกลให้ยางธรรมชาติได้และมีราคาถูก โดยทีมวิจัยได้ศึกษาผลของชนิด ปริมาณ และขนาดของสารตัวเติมเซลลูโลส ต่อสมบัติเชิงกลของยางที่ถูกเตรียมขึ้น รวมถึงการคงรูปและโครงสร้างสัณฐานวิทยา เพื่อค้นหาวิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย ให้สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์จากวัสดุทดแทนตัวอื่นทั้งในประเทศและในตลาดโลก

วิธีเตรียมยางคอมโพสิตโดยใช้สารตัวเติมเซลลูโลสจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วิจัยโดยรองศาสตราจารย์ ดร.กษมา จารุกำจร สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petromat.org หรือ โทร 0-2218-4141 ถึง 2 และสามารถติดตามข่าวสารงานวิจัยจากเฟซบุ๊กของศูนย์ฯ petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th