วัสดุโฟมยางธรรมชาติพัฒนาขึ้นสำหรับรองรับโซลาร์เซลล์หรือเซลล์สุริยะเพื่อการสร้างไฟฟ้าโดยใช้งานในรูปแบบลอยน้ำ ซึ่งประหยัดพื้นที่การติดตั้งแผงบนพื้นดิน อีกทั้งช่วยลดการระเหยเพื่อรักษาน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง พร้อมความสามารถในการแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานโซลาร์เซลล์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าเซลล์โฟโตโวลทาอิก ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำซิลิคอน กระบวนการผลิตมีความซับซ้อนและต้นทุนค่อนข้างสูง นอกจากนี้การติดตั้งในแหล่งน้ำก็จำเป็นต้องใช้ทุ่น ด้วยเหตุนี้เอง นักวิจัยจึงพัฒนาวัสดุรองรับโซลาร์เซลล์จากโฟมยางธรรมชาติที่ราคาถูก มีน้ำหนักไม่มาก ทั้งนี้เคลือบพื้นผิวด้านล่างของโฟมด้วยสารกันน้ำเพื่อให้ลอยตัวอยู่ได้ และเคลือบพื้นผิวด้านบนของโฟมด้วยพอลิเมอร์ชนิดพอลิไพโรลเพื่อให้นำไฟฟ้างานวิจัยนี้มีแผนจะนำวัสดุโฟมไปผลิตเป็นขั้วไฟฟ้าร่วมในเซลล์โฟโตโวลทาอิก โดยใช้กระบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและช่วยลดต้นทุนในการผลิตโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการหันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัดและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ผลงานโดย คุณพิมพลอย ประเสริฐวสุ ทีมวิจัยของอาจารย์ ดร. ณัฏฐพล ภู่ตระกูลโชติ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th