พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นน้องใหม่ไฟแรงในวงการวัสดุ เพราะผลิตจากวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเติมสารหน่วงไฟเข้าไปก็ทำให้สามารถถูกใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เรียกได้ว่า ไฟแรงแต่ก็ไม่ติดไฟ

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต ได้รับการปรับปรุงสมบัติให้ติดไฟได้น้อยลง โดยถูกเติมด้วยสารแอมโมเนียมพอลิฟอสเฟตผสมกับผงผักตบชวา ทำให้วัสดุผสมที่ได้สามารถดับไฟที่กำลังลุกไหม้ด้วยตัวมันเองภายใน 3 วินาที นอกจากนี้ วัสดุดังกล่าวยังถูกเติมด้วยแร่มอนต์มอริลโลไนต์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยป้องกันในเรื่องการลามไฟ

วัสดุผสมดังกล่าวมีสมบัติทางกลที่เปลี่ยนไปจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพลาสติกปิโตรเคมีสองชนิด ก็คือ พอลิเอทิลีนกับพอลิโพรพิลีน เพิ่มเติมคุณสมบัติเข้ามาใหม่ คือ ช่วยป้องกันไฟไหม้ จึงอาจใช้เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ยังได้

ผลงานของนักวิจัยรุ่นใหม่ไฟแรง คุณอโณทัย สุวรรณิโรจน์ ทีมวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ ศุภกาญจน์ สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ชวนทุกท่านมาเติมไฟให้งานวิจัยไปกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat.coe

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th