แบบจำลองกระบวนการปรับค่าพีเอชในน้ำทิ้งด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สามารถควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ กราบเทคโนโลยีใหม่แห่งอนาคต ซึ่งใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสองต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่รู้หรือไหมว่าสามารถนำไปใช้ร่วมกับกรดไฮโดรคลอริก เพื่อปรับค่าพีเอชในน้ำทิ้งได้ ซึ่งปลอดภัยกว่าการปรับค่าพีเอชในน้ำทิ้งด้วยสารละลายกรดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการทำงานอาจไม่ดี เพราะมีข้อจำกัดด้านการละลายของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำทิ้ง

จึงดียิ่งกว่าถ้ามีโมเดลทางคณิตศาสตร์ช่วยจำลองกระบวนการที่เกิดขึ้นจริงในเครื่องปฏิกรณ์ ก่อนจะนำแนวคิดที่ได้ไปพัฒนาแนวทางในการบำบัดให้น้ำเสียมีคุณภาพดีเพียงพอต่อการปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างโลกใบใหม่ที่ทั้งมีน้ำใสและร่มเย็นน่าอยู่มากขึ้น

ผลงานโดย คุณวงศกร ห่วนกิ่ม ทีมวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ ปัญจพรผล ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สนใจติดต่อ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ โทร 02-218-4141 ถึง 2 เว็บไซต์ www.petromat.org และเฟซบุ๊ก petromat

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th