ภาชนะจากธรรมชาติ

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันภาชนะใส่อาหารที่เราพบเห็นทั่วไปและหาซื้อได้ง่าย มักทำมาจากพลาสติก และเมื่อเราใช้เสร็จ พลาสติกเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก โดยพลาสติกอาจใช้เวลาในการย่อยสลายนานหลายร้อยปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบที่สร้งปัญหามลภาวะและทำให้โลกร้อน ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก วันนี้ PETROMAT ขอเชิญชวนทุกคนให้หันมาใช้ภาชนะจากธรรมชาติแทน ซึ่งนอกจากจะสวยเก๋ มีสไตล์ไม่เหมือนใครแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรอีกด้วย ภาชนะจากธรรมชาติ  มีอะไรบ้างวันนี้เราจะเอาข้อมูลมาฝากกันค่ะ ใบเล็บครุฑลังกา เป็นพืชที่มีใบค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายชาม สามารถนำมาเป็นภาชนะใส่อาหารต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของนึ่งและของทานเล่น กินเสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย ใบเล็บครุฑจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติแต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ความคิดสร้างสรรค์และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จัดว่าเป็นไอเดียที่เก๋มากสำหรับยุคสมัยนี้ ภาชนะจากใบเล็บครุฑลังกา Credited ภาพ : https://acuisineth.com/food-story/ ใบตองตึง วัสดุท้องถิ่นของอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติที่คิดค้นจากมันสมองของคนไทยและได้รับการยอมรับไกลในระดับโลก โดยผลงานนี้เป็นของรองนายกเทศมนตรีตำบลแม่เมาะ ซึ่งขณะนี้มีความต้องการซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 เมื่อปีพ.ศ. 2562 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นายกรัฐมนตรีได้นำเอาจาน-ชามใบตองตึงแม่เมาะ มาเป็นภาชนะที่ใช้เสิร์ฟในงานเลี้ยงรับรองให้แก่คณะผู้นำที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ภาชนะจากใบตองตึง Credited ภาพ : https://www.salika.co/2019/11/08/3-container-models-from-natural/ จานที่ผลิตจาก [...]
Read more

หลบร้อน ย้อนยุคกับร้าน (ไม่) ลับ Ginger Bread House!!!

เรื่องโดย ธีรยา เชาว์ขุนทด ร้อนนี้ PETROMAT ชวนแวะ Ginger Bread House หรือ“บ้านขนมปังขิง” กินขนมชมบรรยากาศย้อนยุคกับบ้านไม้เก่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 ตั้งอยู่ในซอยหลังโบสถ์พราหมณ์ ย่านเสาชิงช้า เป็นเรือนไทย สไตล์ฝรั่ง สัมผัสเสน่ห์บนลวดลายฉลุด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Ginger Bread House ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 4 ลวดลายฉลุสวยงามและละเอียดอ่อนบนตัวบ้านมีความคล้ายคลึงกับ “บ้านขนมปังขิง” หรือคุกกี้ที่ชาวยุโรปมักจะทำกินในเทศกาลคริสต์มาส บ้านขนมปังขิงบูรณะจากบ้านไม้เก่าที่มีอายุกว่าร้อยปีสู่ร้านกาแฟกึ่งพิพิธภัณฑ์มีของตกแต่งบ้านที่หาชมยาก เมนูของที่นี่มีทั้งขนมไทย ขนมเค้ก และเครื่องดื่มเติมความสดชื่น แต่ไม่มีอาหารคาวนะคะ โซนที่นั่งมีทั้งด้านล่างและชั้นบน ซึ่งมีทั้งห้องปรับอากาศเป็นมุมที่อยู่ในห้องส่วนตัวและบรรยากาศแบบเปิดโล่ง เฟอร์นิเจอร์ผสมผสานแบบไทยและฝรั่ง พร้อมมุมถ่ายรูปสวย ๆ ให้เลือกถ่ายไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย โซนรับลมนั่งชมตัวบ้าน (โบราณ) บรรยากาศย้อนยุค อีกหนึ่งมุมเก๋ ๆ ที่นั่งเย็นสบายในห้องปรับอากาศชั้นบน เลือกนั่งมุมที่ชอบได้ทั้งบนและล่าง มุมสบายในห้องส่วนตัว เมนูแนะนำ: ชุดคุณหญิง ราคา 789 บาท เหมาะสำหรับ 2 - 3 คน [...]
Read more

รถยนต์ไฟฟ้า…ทางเลือกใหม่ในการประหยัดเชื้อเพลิงน้ำมัน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันที่นับวันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สาเหตุหลักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซีย ยูเครน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของโลก และการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศ OPEC ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน อีกทั้ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยืดเยื้อมากว่า 2 ปี ทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกสะดุด จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เติมน้ำมันสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล หรือแม้แต่ทางอ้อมอย่างการขนส่งสินค้าต่าง ๆ นวัตกรรมยุคใหม่เกี่ยวกับยานยนต์ที่กำลังได้รับความนิยมและพูดถึงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อความเคลื่อนไหวของโลกกำลังให้ความสำคัญเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และการลดการใช้น้ำมัน นั่นคือ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle)” หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “รถยนต์ EV” วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านร่วมเดินทางไปกับการพัฒนายานยนต์ด้วยนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ข้อดีและข้อเสียเป็นอย่างไร และที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่ เริ่มออกเดินทางไปพร้อมกันเลยครับ รถยนต์ EV คืออะไร ? มาทำความรู้จักกันเถอะ “รถยนต์ EV” หรือ Electric Vehicle แปลได้อย่างตรงตัวว่ารถไฟฟ้า [...]
Read more

เศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงในยูเครน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว ยูเครนมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก แต่ในอดีตยังขาดการบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและในชุมชน ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อปริมาณของเสียที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยยูเครนเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ปัจจุบันจึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับชุมชน เปลี่ยนปัญหาทรัพยากรในประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หากไม่เกิดภาวะเกิดสงคราม ในปี พ.ศ. 2565 ยูเครนจะอยู่ในช่วงที่ 2 จากทั้งหมด 3 ช่วงของการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามแผนกลยุทธ์การจัดการของเสียในประเทศ (National Waste Management Strategy) ที่รัฐบาลยูเครนในขณะนั้นได้ผ่านมติรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงกระบวนการใช้ทรัพยากรในประเทศ ยูเครนมีประชากรประมาณ 44.6 ล้านคน โดยอัตราคนว่างงานคิดเป็น 9.3% ตัวเลขในปี พ.ศ. 2558 ระบุว่ายูเครนมีปริมาณพื้นที่การเกษตรครอบคลุมมากถึง 75% ของประเทศ และมีป่าไม้สะสมปริมาณ 2,196 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรป มีตัวเลขดังกล่าวเฉลี่ยอยู่ที่ 41% และ 950 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยูเครนยังมีน้ำใช้ใหม่ (Renewable Water [...]
Read more

Circular Economy ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล “คุณธีระพล ติรวศิน” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตวิศวกรสิ่งแวดล้อมจากรั้วจามจุรี เริ่มต้นจากการออกแบบระบบควบคุมมลพิษให้โรงงานอุตสาหกรรม เคยบริหารกิจการและดำรงตำแหน่ง MD บริษัทด้านสิ่งแวดล้อมในเครือ SCG เข้าร่วมกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วันแรกที่จัดตั้ง และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มฯ ในวาระปีปัจจุบัน • บทบาทและทิศทางของกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม • ความท้าทายในการยกระดับการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย • ความร่วมมือกับภาคการศึกษาและวิจัย Q : กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม A: “หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรมในช่วงปี 2540 ส่งผลให้ธุรกิจด้านการจัดการของเสียเกิดขึ้นตามมา กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงถูกจัดตั้งภายใต้ พ.ร.บ. ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 โดยสาเหตุที่รวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้น เกิดจากปัญหาร่วมในข้อปลีกย่อยของกฎหมายที่มีจำนวนมาก ทั้งที่จริงแล้วกฎหมายออกมาเพื่อจัดการกับของเสียที่ไม่ได้ทำตามระบบหรือของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงโอกาสในการช่วยเหลือกันในธุรกิจด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมอื่นภายในประเทศ และมีการแข่งขันกันเอง แต่อย่างไรก็ตามก็มีลักษณะที่เราต้องช่วยเหลือกันในกลุ่มอุตสาหกรรม จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา” โดยคุณธีระพลได้เริ่มทำงานกับกลุ่มฯ ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้ง “สมาชิกทุกคนจะมีบริษัทที่สังกัดอยู่ โดยมีความเห็นตรงกันว่าถ้าพวกเรามาร่วมกันมาช่วยกัน จะสามารถทำสิ่งที่มีประโยชน์และมีพลังได้มากกว่า และเช่นเดียวกันกับกลุ่มอื่นๆ ในสภาอุตสาหกรรมที่จะต้องมีประธานกลุ่ม ในกลุ่มฯ จึงมีการเลือกตั้งประธานกลุ่มสลับหมุนเวียนกันมา” คุณธีระพลได้สะสมประสบการณ์ในธุรกิจนี้ และปัจจุบันก็ยังทำงานด้านอื่นๆ [...]
Read more

แหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโตและถูกกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบันว่าเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ก๊าซชนิดนี้มีองค์ประกอบของคาร์บอนซึ่งเป็นธาตุพื้นฐานที่ทำให้ระบบนิเวศของโลกเกิดความสมดุลและธรรมชาติเองก็ยังเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ที่เราเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง ตามข้อมูลของ Global Carbon Budget ได้แบ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกเป็น 3 แหล่งหลัก ๆ คือ ทะเล มหาสมุทร (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Blue Carbon) ต้นไม้ ป่าไม้ (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Green Carbon) ชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) แหล่งกักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศนี้เองที่กำลังมีปัญหา เนื่องจากเป็นการกักเก็บคาร์บอนในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นหรือเกิดภาวะโลกร้อน Green Carbon คาร์บอนจากชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและกักเก็บโดยต้นไม้ ป่าไม้และผืนดินที่ปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การดูดซับคาร์บอนแบบนี้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป เนื่องจากเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องการเจริญเติบโตของพืชผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลักในกระบวนการ พืชและป่าไม้จึงมีส่วนสำคัญในการหมุนเวียนคาร์บอน ด้วยความที่ Green Carbon อยู่บนผืนดินและกักเก็บคาร์บอนส่วนเกินไว้ในผืนดิน จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า “Terrestrial Carbon Sink” [...]
Read more

3D Printing เทคโนโลยีปฏิวัติวงการทันตกรรม

  เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ การพิมพ์สามมิติ หรือ 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีตัวเลือกหลากหลายในท้องตลาดและประกอบกับราคาที่ถูกลง ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยเริ่มตั้งแต่การนำมาใช้ในระดับครัวเรือนจนถึงการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมและหลายสาขาอาชีพไม่เว้นแม้แต่งานด้านทันตกรรม ซึ่งทำให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรมมีประสิทธิภาพและมีทางเลือกมากขึ้น ที่มาภาพ : https://www.pinterest.com/pin/758152918521121203/ 3D Printing เหมาะกับงานด้านทันตกรรมอย่างมาก เนื่องจากช่องปากและฟันของคนเรามีสัดส่วนและขนาดที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในการผลิตชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้หรือช่วยในการรักษาจำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดที่จำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การทำครอบฟัน ฟันปลอม และการรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ในงานด้านทันตกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำฟันปลอม Splints (อุปกรณ์ช่วยยึดฟันทั้งเฝือกสบฟันและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผ่าตัดขากรรไกร) และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท มีขั้นตอนหลักในการทำโมเดลฟันแบบเดิมคือ ทันตแพทย์จะใช้วิธีการพิมพ์ปากผู้ป่วยด้วยวัสดุพิมพ์ที่มีอยู่หลากหลาย ชนิดวัสดุพิมพ์ที่นิยมใช้เรียกว่า “อัลจิเนต” ซึ่งเป็นวัสดุพิมพ์ปากในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) มีกลิ่นคล้ายยาสีฟัน ผลิตขึ้นโดยการสกัดกรดอัลจินิก (alginic acid: anhydro-ß-d-mannuronic acid) จากสาหร่ายสีน้ำตาล เมื่อใส่เข้าไปในปาก ประมาณ 1-2 นาที อัลจิเนตจะแข็งตัวและดึงออกมาเป็นแบบรอยพิมพ์ฟัน ทันตแพทย์จะส่งแบบพิมพ์ฟันให้กับช่างทันตกรรมหรือห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมต่าง ๆ ช่างทันตกรรมต้องผสมปูนปลาสเตอร์หล่อแบบขึ้นมาจากรอยพิมพ์ที่ทันตแพทย์ส่งมาให้ได้เป็นโมเดลฟัน ทันตแพทย์จะนำโมเดลฟันที่ได้ไปออกแบบการรักษาและทำเป็นชิ้นงาน เช่น ฟันปลอม สปริ๊นท์ และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท โดยใช้วัสดุเป็นขี้ผึ้งและผ่านกระบวนการอัดด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่ใช้ในการรักษา เช่น [...]
Read more

บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ” ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือที่เรียกว่า “Circular Economy” มุมมองและการนำแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับธุรกิจในองค์กร และ อีกหนึ่งบทความเรื่อง “Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ได้กล่าวถึง ปัญหาที่เกิดจากเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม หรือ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) และ การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมไปถึงข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับคำว่า “รีไซเคิล” (Recycle) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การรีไซเคิลอยู่ตรงไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ รีไซเคิล คืออะไร ? “รีไซเคิล” (Recycle) คือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะกลายเป็นขยะ การนำสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉีกขาด แตกหัก กลับไปเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีกและมีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ [1] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ [...]
Read more

แบบนี้ไม่ใช่มิตร แต่เป็นมิจฉาชีพ

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม ช่วงนี้แก๊ง Call Center ระบาดหนัก PETROMAT จึงอยากขอเตือนภัย เจอแบบนี้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจอมิจฉาชีพแล้วแหละ!! สารพัดวิธีโกง ทั้งหลอกเอาเงิน หรือหลอกเอาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่รู้ ไม่ทันระวังตัว อาจตกเป็นเหยื่อได้ รูปแบบการหลอกลวงที่พบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความเข้ามา โทรมา หรือแฮคเฟสบุคคนที่เรารู้จัก สร้างเรื่องราวต่าง ๆ ให้ตกใจ ดีใจ กังวลใจ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะอาศัยความกลัว ความโลภ ความรู้ไม่เท่าทัน เพื่อหลอกถามข้อมูลสำคัญ หรือหลอกให้โอนเงินต่าง ๆ วิธีป้องกัน ตั้งสติ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลอื่น ดาวน์โหลด Whoscall แอพจะระบุตัวตนของสายเรียกเข้าที่เราไม่รู้จักทำให้รู้ว่าเบอร์ต้นทางนั้นเป็นเบอร์จากใคร วิธีแก้ไข รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ติดต่อธนาคารเพื่อระงับการโอนเงิน หากระงับการโอนเงินไม่ได้ ให้นำหลักฐานแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งเรื่องร้องเรียกปรึกษา ติดต่อ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบอร์ 1599 หรือ 081-866-3000 ทุกวัน 8.30 [...]
Read more

ธนบัตรพอลิเมอร์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ เรียกว่า “ธนบัตรพอลิเมอร์” ในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ซึ่งเปลี่ยนจากการเป็นธนบัตรกระดาษ มาใช้วัสดุ “พอลิเมอร์” ซึ่งมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า “ธนบัตรกระดาษ” ช่วยลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรที่ชำรุด ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่ถูกใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย ทำให้สภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น แท้จริงแล้วธนบัตรพอลิเมอร์ทำมาจากพอลิเมอร์ชนิดใดและใช้กระบวนการใดในการผลิต ติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ ธนบัตรพอลิเมอร์ ผลิตและขึ้นรูปด้วยวิธี Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) ซึ่งเป็นการหลอมเม็ดพลาสติกชนิดพอลิพรอพีลีน (PP) ผ่านเครื่องหลอมอัดรีด แล้วทำการดึงยืดให้เป็นฟิล์มโดยการดึงฟิล์มในสองทิศทาง ได้แก่ ดึงในด้านขนานกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด และดึงตั้งฉากกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ที่ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวฟิล์ม เช่น มีการยืดตัวต่ำ ความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น มีความแข็งมากขึ้น มีคุณสมบัติทางแสงที่ดีขึ้นและทนทานต่อน้ำหรือก๊าซได้ดีขึ้น การขึ้นรูปพลาสติกประเภท Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) [...]
Read more