แหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโตและถูกกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบันว่าเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ก๊าซชนิดนี้มีองค์ประกอบของคาร์บอนซึ่งเป็นธาตุพื้นฐานที่ทำให้ระบบนิเวศของโลกเกิดความสมดุลและธรรมชาติเองก็ยังเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ที่เราเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง ตามข้อมูลของ Global Carbon Budget ได้แบ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกเป็น 3 แหล่งหลัก ๆ คือ ทะเล มหาสมุทร (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Blue Carbon) ต้นไม้ ป่าไม้ (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Green Carbon) ชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) แหล่งกักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศนี้เองที่กำลังมีปัญหา เนื่องจากเป็นการกักเก็บคาร์บอนในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นหรือเกิดภาวะโลกร้อน Green Carbon คาร์บอนจากชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและกักเก็บโดยต้นไม้ ป่าไม้และผืนดินที่ปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การดูดซับคาร์บอนแบบนี้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป เนื่องจากเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องการเจริญเติบโตของพืชผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลักในกระบวนการ พืชและป่าไม้จึงมีส่วนสำคัญในการหมุนเวียนคาร์บอน ด้วยความที่ Green Carbon อยู่บนผืนดินและกักเก็บคาร์บอนส่วนเกินไว้ในผืนดิน จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า “Terrestrial Carbon Sink” [...]
Read more

ทีมวิจัยศูนย์ฯ ลงพื้นที่สมุย ประเดิมโครงการสร้างต้นแบบชุมชนด้านการลดขยะอาหาร

เริ่มลงพื้นที่จริงแล้ว สำหรับโครงการวิจัยเรื่อง "การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร" ซึ่งได้รับทุนจาก สวก. ให้ดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และหัวหน้าโครงการฯ ได้นำทีมนักวิจัยออกเดินทางพร้อมผู้ร่วมงาน เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการขยะอาหารและสถานการณ์ของปัญหาขยะที่พบในปัจจุบัน โดยทีมวิจัยได้สำรวจพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งอำเภอเกาะสมุย ระหว่างวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2565 พื้นที่ที่ได้ไปสำรวจประกอบด้วย วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ หนึ่งในนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ได้มีการสำรวจ เช่น พื้นที่เตาเผาขยะของเทศบาล ตำบลมะเร็ต โรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ทั้งนี้การลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ทีมวิจัยได้ข้อมูลเกี่ยวกับการทิ้งและการจัดการอาหารส่วนเกิน อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ในพิ้นที่ของเกาะสมุย ก่อนจะเตรียมทำวิจัยสู่ขั้นตอนต่อไปของโครงการฯ เพื่อให้บรรลุตามแผน "Samui Zero Food Waste" Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 [...]
Read more

3D Printing เทคโนโลยีปฏิวัติวงการทันตกรรม

  เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ การพิมพ์สามมิติ หรือ 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีตัวเลือกหลากหลายในท้องตลาดและประกอบกับราคาที่ถูกลง ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยเริ่มตั้งแต่การนำมาใช้ในระดับครัวเรือนจนถึงการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมและหลายสาขาอาชีพไม่เว้นแม้แต่งานด้านทันตกรรม ซึ่งทำให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรมมีประสิทธิภาพและมีทางเลือกมากขึ้น ที่มาภาพ : https://www.pinterest.com/pin/758152918521121203/ 3D Printing เหมาะกับงานด้านทันตกรรมอย่างมาก เนื่องจากช่องปากและฟันของคนเรามีสัดส่วนและขนาดที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในการผลิตชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้หรือช่วยในการรักษาจำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดที่จำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การทำครอบฟัน ฟันปลอม และการรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ในงานด้านทันตกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำฟันปลอม Splints (อุปกรณ์ช่วยยึดฟันทั้งเฝือกสบฟันและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผ่าตัดขากรรไกร) และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท มีขั้นตอนหลักในการทำโมเดลฟันแบบเดิมคือ ทันตแพทย์จะใช้วิธีการพิมพ์ปากผู้ป่วยด้วยวัสดุพิมพ์ที่มีอยู่หลากหลาย ชนิดวัสดุพิมพ์ที่นิยมใช้เรียกว่า “อัลจิเนต” ซึ่งเป็นวัสดุพิมพ์ปากในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) มีกลิ่นคล้ายยาสีฟัน ผลิตขึ้นโดยการสกัดกรดอัลจินิก (alginic acid: anhydro-ß-d-mannuronic acid) จากสาหร่ายสีน้ำตาล เมื่อใส่เข้าไปในปาก ประมาณ 1-2 นาที อัลจิเนตจะแข็งตัวและดึงออกมาเป็นแบบรอยพิมพ์ฟัน ทันตแพทย์จะส่งแบบพิมพ์ฟันให้กับช่างทันตกรรมหรือห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมต่าง ๆ ช่างทันตกรรมต้องผสมปูนปลาสเตอร์หล่อแบบขึ้นมาจากรอยพิมพ์ที่ทันตแพทย์ส่งมาให้ได้เป็นโมเดลฟัน ทันตแพทย์จะนำโมเดลฟันที่ได้ไปออกแบบการรักษาและทำเป็นชิ้นงาน เช่น ฟันปลอม สปริ๊นท์ และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท โดยใช้วัสดุเป็นขี้ผึ้งและผ่านกระบวนการอัดด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่ใช้ในการรักษา เช่น [...]
Read more

พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางยืดสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือใหม่ระหว่างศูนย์ฯ กับ Union Pioneer

ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน [...]
Read more

อาจารย์​ ‘เคมี จุฬาฯ’ ได้รับรางวัลและเงินทุนฯ จาก มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มอบรางวัลและเงินทุนฯ ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2564 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสภาบันศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเคมีไฟฟ้าและแสงนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล เงินทุนช่วยเหลือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการของ อาจารย์ ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ” ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือที่เรียกว่า “Circular Economy” มุมมองและการนำแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับธุรกิจในองค์กร และ อีกหนึ่งบทความเรื่อง “Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ได้กล่าวถึง ปัญหาที่เกิดจากเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม หรือ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) และ การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมไปถึงข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับคำว่า “รีไซเคิล” (Recycle) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การรีไซเคิลอยู่ตรงไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ รีไซเคิล คืออะไร ? “รีไซเคิล” (Recycle) คือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะกลายเป็นขยะ การนำสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉีกขาด แตกหัก กลับไปเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีกและมีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ [1] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับกรมโรงงานฯ จัดอบรมหลักสูตรด้าน ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’

จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้วสำหรับหลักสูตร 'เศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)' โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพ ร่วมด้วยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ภายหลังจากที่การอบรมจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ในวันนี้ (3 มีนาคม 2565) มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเกือบ 200 คน ในการอบรมประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรยายโดยวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้บรรยายในหัวข้อ 'การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs' เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หลังจากที่ทำสำเร็จไปแล้วจำนวนทั้งหมด 10 โรง ภายใต้โครงการสร้างโรงงานนำร่องด้านพลาสติกร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ 'Business Canvas Model' ในการอบรมครั้งนี้ด้วย การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อขยายผลจากโครงการวิจัยเรื่อง [...]
Read more