ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ ในโอกาสที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น "อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี" ประจำปี พ.ศ. 2565 จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

แสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เป็นกรรมการในคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

สุดล้ำ…แอปตรวจโควิดด้วยเสียงไอ มาแน่ !

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.4 และ BA.5 ทั่วโลก เริ่มมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อสัปดาห์สูงขึ้นเรื่อย ๆ อนึ่งการตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) ยังคงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับประชาชนทั่วไป เป็นสิ่งที่จะช่วยตรวจคัดกรองเบื้องต้น และช่วยยืนยันเพื่อสร้างความสบายใจว่าเรายังไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ อีกทั้งเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดไปยังบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีดังกล่าว ยังคงมีค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อชุดตรวจมาตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง อีกทั้งในช่วงนี้ค่อนข้างมีราคาเพิ่มสูงมากขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และบางท่านอาจจะต้องตรวจกันบ่อยจนเจ็บจมูกไปหมด ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ในอนาคตอันใกล้ ด้วยการวิเคราะห์จาก “เสียงไอ” ผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “ResApp” เราไปดูกันเลยครับ ResApp คืออะไร ? เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาและคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 จากการวิเคราะห์เสียงไอด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลดการเจ็บตัวในการที่ต้องแยงจมูกบ่อย ๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ ซึ่งถูกพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ บริษัท ResApp Health ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีสุขภาพจากประเทศออสเตรเลีย [...]
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯจับมือ NECTEC และ 78transform ยกระดับ ‘คาร์บอนแบล็ก’ สู่การใช้งานใน ‘ซูปเปอร์คาปาซิเตอร์’

ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์เส้นใยจากวัสดุรีไซเคิลคาร์บอนแบล็กผสมกราฟีนสำหรับใช้ในซุปเปอร์คาปาซิเตอร์แบบยืดหยุ่น ซึ่งนักวิจัยศูนย์ฯ ดำเนินการร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ บริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในวันนี้ (30 ส.ค.) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ตามลำดับ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ซึ่งเป็นนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ผู้ร่วมโครงการดังกล่าว ได้ต้อนรับคุณอนัญสินี ทาบุญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด และ ดร.อภิชัย จอมเผือก หัวหน้าโครงการฯ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โอกาสนี้ คณะผู้ร่วมวิจัยได้ประชุมเริ่มต้นโครงการฯ อีกทั้งมีการถ่ายรูปร่วมกับผู้บริการศูนย์ฯ เพื่อเป็นที่ระลึก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท [...]
Read more

ศูนย์ฯ จัดเต็มนิทรรศการโชว์ผลงานนวัตกรรมในการต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก ‘สป.อว.

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยหัวหน้าโปรแกรมวิจัยและผู้แทนหัวหน้าโปรแกรมวิจัยของศูนย์ฯ ได้นำคณะนักวิจัยในสังกัดต้อนรับคุณดารณี ศุภธีรารักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ กองทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในฐานะประธานกรรมการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ประจำปี 2565 ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมคณะจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ณ อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา วันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้คณะผู้ตรวจเยี่ยมได้รับทราบในที่ประชุม หลังจากนั้นจึงนำเข้าชมนิทรรศการนวัตกรรมของนักวิจัยในสังกัด ที่สำเร็จขึ้นจากโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และโครงการวิจัยปั้นดาว ซึ่งล้วนมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ จำนวนกว่า 18 ผลงาน ทั้งนี้ด้วยปัจจุบันศูนย์ฯ ได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินการภายใต้กองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สังกัด สป.อว. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ในปี 2564 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ ร่วมรับทุน ‘บพข.’ ปลดล็อกศักยภาพไบโอพลาสติก มุ่งสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การยกระดับศักยภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อการขยายตลาดเชิงพาณิชย์” โดยการแถลงข่าวความร่วมมือและการมอบทุนโครงการวิจัยดังกล่าวจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดยคุณปณิธาน ชุณหสวัสดิกุล ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ บพข. ได้กล่าวถึงที่มาของการให้ทุนเพื่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมด้วยคุณวรุณ วารัญญานนท์ หัวหน้าโครงการฯ และคุณปาณิสรา รัตนปัญญาโชติ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาดและบริหารจัดการโรงงานของบริษัทฯ ได้ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ หลังจากนั้นผู้แทนคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับมอบทุนการดำเนินโครงการฯ จาก บพข. และ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น โดยผู้ร่วมงานได้ถ่ายภาพร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้ โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการใช้งานพลาสติกชีวภาพ พร้อมสนับสนุนผู้บริโภคให้หันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกภายในประเทศ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของไทยให้เติบโตแบบไร้ขีดจำกัด ตลอดจนผลักดันสู่การเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในระดับโลก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

กัญชาน่ารู้

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม วันที่ 9 มิถุนายน 2565 คือวันที่ประเทศไทยมีการปลดล็อกกัญชา เราจะพบร้านอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งมีภาพใบไม้รูปฝ่ามือ มี  7 แฉก ปรากฎอยู่ในป้ายโฆษณาหน้าร้านกันมากขึ้น เพื่อชักชวนดึงดูดลูกค้าว่าอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนผสมของ “กัญชา” ให้เข้ามาลิ้มลองและเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น กัญชาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นไม้ล้มลุกมีอายุเพียง 1 ปี ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ทุกส่วนมีขนปกคลุม ใบรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเว้าลึก ใบย่อยเล็ก 5 – 7 ใบ แต่ละใบย่อยเรียวยาว กว้าง 0.3 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย สีเขียวเข้ม ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เป็นช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อเพศผู้อยู่ห่าง ๆ กัน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเล็ก ช่อเพศเมียออกเป็นกระจุก [...]
Read more

ไบโอพลาสติกจากผลไม้

เรื่องโดย นุรสา จริยสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พลาสติกชีวภาพ หรือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable Plastic) คือ พลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum-based) หรือจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Bio-based) ได้แก่ ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันพบว่ามีนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพใหม่ที่ผลิตจากเศษผลไม้ในส่วนของเปลือกไม่ว่าจะเป็น เปลือกล้วย เปลือกส้ม เปลือกมะเขือเทศ และเมล็ดอโวคาโด ซึ่งเป็นเศษผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาสร้างมูลค่าให้กับตลาดไบโอพลาสติก อโวคาโด ผลไม้ที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และมีโปรตีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ เป็นผลไม้ที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยนัก แต่ผลไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมของผู้คนในอเมริกาเหนือและยุโรป จนทำให้มีการบริโภคสูงถึงปีละ 5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อโวคาได้รับฉายาว่า “ทองคำสีเขียว” ของชาวเม็กซิโก เนื่องจากเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็น 50% ของอโวคาโดที่ส่งออกทั่วโลก เม็กซิโกเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ที่มาภาพ : https://www.elfinanciero.com.mx/mundo/la-historia-de-como-el-aguacate-mexicano-conquisto-al-mundo/ https://www.cleanpng.com/png-hass-avocado-mexican-cuisine-fruit-food-health-4592020/ ในแต่ละเดือนอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอโวคาโดของประเทศเม็กซิโกมีเมล็ดอโวคาโดเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตถูกทิ้งไปอย่างเสียเปล่ากว่า 30,000 เมตริกตัน เมล็ดอโวคาโดมีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกรดแลคติก เมื่อกรดแลคติกผ่านกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันได้เป็น “พอลิแลคติกแอซิด หรือ [...]
Read more

รางวัลพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564”

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เมตตา เจริญพานิช (KU-ChE) เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

Circular Fashion ปฏิวัติวงการเสื้อผ้า พาของเหลือใช้ไปรันเวย์

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอก็มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันวงการแฟชั่นมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลและก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย จึงต้องมีการปฏิวัติแฟชั่นครั้งใหม่เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างยั่งยืน แฟชั่นปัจจุบันมาไวไปไวและกำลังทำลายสิ่งแวดล้อม แฟชั่นในปัจจุบันถูกเรียกว่าแฟชั่นหมุนเร็ว (Fast Fashion) เพราะมีการเปลี่ยนคอลเล็กชันเสื้อผ้าในลักษณะที่เรียกว่ามาไวไปไว เพื่อให้ทันต่อความทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบธุรกิจมีการทำการตลาดให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายและซื้อบ่อยขึ้น ส่วนทางด้านผู้ผลิตก็อาจมีการลดระดับคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าเพื่อให้สินค้ามีราคาถูก ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้น ทั้งนี้กระแสแฟชั่นที่มาไวไปไวและคุณภาพที่ด้อยลงของเสื้อผ้า ทำให้เสื้อผ้ามีอัตราการใช้งานที่น้อยครั้ง ในที่สุดก็ถูกทิ้งไปกลายเป็นขยะแฟชั่น ข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ซึ่งรายงานโดย World Economic Forum ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ 2543 - 2558 มีการผลิตเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดี แต่อัตราการใช้งานเสื้อผ้าในช่วงเวลานี้กลับลดลงจากสมัยก่อนถึงร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปเป็นขยะที่ต้องกำจัดด้วยวิธีเผาหรือฝังกลบในปริมาณมากถึงร้อยละ 75 โดยขยะเสื้อผ้าเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล ในจำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 1 ที่ได้รับการนำกลับไปผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแต่ละปีจะมีขยะเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่าร้อยละ 85 ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับการนำไปบริจาคหรือนำกลับไปรีไซเคิล ขยะในปริมาณมหาศาลที่ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ ทำให้ในแต่ละปีการผลิตเสื้อผ้าต้องใช้ทรัพยากรใหม่รวมกันทั้งโลกกว่า 98 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปหรือต้องใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง [...]
Read more