ศูนย์ฯ พร้อมสู้โควิด! ประดิษฐ์ “กล่องยูวีซี” มอบให้รพ.ราชวิถี

โครงการ “Ultra We กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวีซี” เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์ฯ กับภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.เมธี สายศรีหยุด และ ผศ.ดร.ชลิดา เนียมนุ้ย ในการประดิษฐ์เครื่องฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยรังสียูวีซี ซึ่งมีมาตรฐานรับรอง เพื่อนำไปส่งมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการส่งมอบครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนในปี 2563 Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เอสแอนด์เจ’ เล็งปัดฝุ่น ‘ดินเบาดีอี’ พลิกสู่วงการเครื่องสำอาง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด เมื่อวันที่ 19 กรกกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ดินเบาดีอีในเครื่องสำอาง โดยดินเบาดีอีเป็นวัสดุอันมีคุณสมบัติเด่นทั้งด้านน้ำหนักที่เบาและความสามารถที่สูงในการดูดซับสารต่างๆ รวมทั้งน้ำ จึงมักนำไปผลิตเป็นสารช่วยกรอง รวมถึงผสมลงในสีทาป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้แล้วดินเบาดีอีเกรดบริสุทธิ์จากต่างประเทศ ยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติในการดูดซับที่ดีขึ้น ในวันดังกล่าวจึงมีการประชุมระหว่างศูนย์ฯ กับทางบริษัทฯ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ (รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ เหล่าวัฒนบัณฑิต (นักวิจัยดินเบาดีอี) และ ดร.พิมผกา วนสวัสดิ์ (บริษัทเอสแอนด์เจ) ทั้งนี้เป็นการหารือร่วมกันในนัดแรกเพื่อวางแผนศึกษาการนำดินเบาดีอีในประเทศไทยไปประยุกต์ใช้งานในเครื่องสำอาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรในประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more