การผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตด้วยแนวทางของ R V Connex (ตอนที่ 2)

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล จากบทสัมภาษณ์ตอนที่แล้ว (บทสัมภาษณ์ ตอนที่ 1) คุณพีรพล ตระกูลช่าง Managing Director/Manufacturing Director และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ VP Innovation R&D บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด ได้แนะนำให้รู้จัก R V Connex ว่าเกิดจากอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จนมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี 4 ด้าน คือ Security, Platform, Software และ Space ซึ่งในบทสัมภาษณ์ตอนนี้ จะเจาะลึกถึงปัจจัยที่ช่วยผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตและประสบการณ์การทำงานต่างๆ ผ่านผลิตภัณฑ์ของ R V Connex PETROMAT : งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐในปัจจุบัน นอกจากจะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม S-curve อุตสาหกรรม New S-curve และ เศรษฐกิจ BCG [...]
Read more

การผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตด้วยแนวทางของ R V Connex (ตอนที่ 1)

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล ถ้าได้ติดตามข่าวสงครามในปัจจุบัน อาวุธยุคใหม่ที่ถูกนำเข้ามาใช้งานมากขึ้นคืออากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ไม่ต่างจากที่เคยเห็นในภาพยนตร์ฮอลลีวูด สำหรับประเทศไทยเองก็มีการใช้งานโดรนอย่างแพร่หลายทั้งเป็นเครื่องเล่น ใช้ในการถ่ายภาพ ใช้ในการเกษตร เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงการใช้โดรนเพื่อการรบแล้ว ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศและต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาฝึกสอนนักบินเพื่อใช้งาน แต่ทราบหรือไม่ว่าอากาศยานไร้คนขับเพื่อการรบมีประจำที่กองทัพอากาศไทยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (R V Connex) ที่เป็นบริษัทของคนไทย 100% PETROMAT มีโอกาสร่วมมือกับ R V Connex ในการส่งนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกอุตสาหกรรมไปทำโครงการวิจัยเรื่องการฟื้นสภาพแบตเตอรี่และการปรับสภาพชิ้นส่วนอากาศยานให้ทนต่อการกัดกร่อน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในครั้งนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติในการเข้าสัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองจากคุณพีรพล ตระกูลช่าง Managing Director/Manufacturing Director และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ [...]
Read more

ซูเปอร์เวิร์ม เขมือบพลาสติก พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ขยะพลาสติกมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง จนมีการตรวจพบอนุภาคของพลาสติกในอากาศที่เราหายใจ อาหารที่เรากิน หรือแม้แต่ในเลือดของเรา การบริโภคและการกำจัดผลิตภัณฑ์พลาสติกของมนุษย์ยังสร้างมลพิษให้กับแหล่งที่อยู่อาศัยทั่วโลก รวมถึงในมหาสมุทร ซึ่งปัญหามลพิษจากพลาสติกก็กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จนล่าสุด กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก University of Queensland's School of Chemistry and Molecular Biosciences ได้พยายามหาวิธีรีไซเคิลพลาสติก โดยค้นพบว่า ‘ซูเปอร์เวิร์ม’ (Superworms) หรือชื่อของหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zophobas morio) สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกพอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นอาหาร เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนอนสามารถย่อยสลายมันได้ ซูเปอร์เวิร์ม กำลังกินพลาสติกพอลิสไตรีน ตัวด้วง Zophobas ระยะโตเต็มวัย พอลิสไตรีน เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม โดยพอลิสไตรีนเป็นพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและพบได้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น โฟม ภาชนะ ช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น บรรจุภัณฑ์พอลิสไตรีนประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในการทดลอง นักวิทยาศาสตร์แบ่งหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas 171 ตัวออกเป็น 3 [...]
Read more

แอปพลิเคชันสุดว้าว! ถูกใจผู้ใช้รถยนต์ EV

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากกระแสของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มาตรการจากภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้และผลิตรถยนต์ EV ทำให้หลาย ๆ ท่านเริ่มหันมาสนใจรถยนต์ EV กันมากขึ้น จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “รถยนต์ไฟฟ้า...ทางเลือกใหม่ในการประหยัดเชื้อเพลิงน้ำมัน”  ได้กล่าวถึง รถยนต์ EV คืออะไร ประเภทของรถยนต์ EV ข้อดีและข้อเสียของรถยนต์ EV ที่สำคัญ คือ การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของรถยนต์ EV และรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ว่าแบบไหนประหยัดกว่ากัน ในบทความนี้ PETROMAT ได้รวบรวมแอปพลิเคชันที่ถูกคิดค้นและพัฒนามาเพื่อรองรับผู้ที่ใช้รถยนต์ EV โดยเฉพาะ และได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก นั่นคือ แอปพลิเคชันที่แสดงสถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้รถยนต์ EV ในประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้งานรถยนต์ประเภทนี้ เราไปดูกันเลยครับ MEA EV เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยแอปพลิเคชันนี้ใช้ค้นหา จอง และชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิดในประเทศไทย เปิดให้ใช้บริการสำหรับประชาชนทั่วไปทุกสถานีชาร์จในเครือการไฟฟ้านครหลวง ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้บริการได้ที่ https://www.mea.or.th/content/detail/87/6535 [...]
Read more

ทางออกขยะกรุงเทพฯ กับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สร้างขยะมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันขยะส่วนใหญ่ถูกกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ มีแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมุ่งเน้นให้ขยะเหลือศูนย์ โดยสนับสนุนให้ลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง รวมถึงนำขยะไปแปรรูป ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 10,000 ตัน คือขยะในแต่ละวันของกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะที่มากมายทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การคัดแยก ตลอดจนการนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่และงบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันปริมาณขยะที่มากมายเช่นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรแบบฟุ่มเฟือย ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย โดยสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ ระบุว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2564) กรุงเทพฯ จัดเก็บขยะมูลฝอยรวมทั้งปีในปริมาณมากถึง 3.17 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,674.73 ตัน ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปีเดียวกันนี้ ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล มีเพียง ประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ที่ขยะมีปริมาณมากที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือเฉลี่ยวันละ 10,526.92 [...]
Read more

พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการมองหาพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ได้มาจากการผลิตด้วยน้ำมันมากขึ้น การมองหาพลังงานทางเลือกที่จะนำมาทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีการพูดถึงแหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน นอกจากนี้แหล่งพลังงานทางเลือกยังเป็นเทรนด์พลังงานสะอาดที่ทั่วโลกให้ความสนใจ มาดูกันว่าพลังงานที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันนั้นมีอะไรบ้าง พลังงานหมุนเวียนคืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมันและทรายน้ำมัน เป็นต้น พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและยังสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย ประเภทของพลังงานหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวมวลและพลังงานจากขยะ พลังงานน้ำ (Hydropower)  พลังงานน้ำ (Hydropower) เป็นแหล่งพลังงานธรรรมชาติที่มีให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้น้ำยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ [...]
Read more

มารู้จัก Staycation เที่ยวใกล้ประหยัดเวลา พาสบายกระเป๋า

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม Staycations เป็นการผสมคำระหว่าง Stay ที่แปลว่า “อยู่บ้าน” และ Vacation ที่แปลว่า “การพักผ่อน” ซึ่งนำมารวมกันแล้วหมายถึงการพักผ่อนอยู่กับบ้าน ซึ่งการพักผ่อนแบบนี้นับเป็นไอเดียที่ดีที่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะพิษโควิด แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวสถานที่ใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการพักโรงแรม การกินดื่มตามคาเฟ่ทั่วไป หรือการไปสปานวดพักร่างกาย เมื่อปี พ.ศ. 2550 - 2551 เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อ “Hamburger Crisis” ทำให้การพักผ่อนท่องเที่ยว เป็นในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้เงิน ท่องเที่ยวในประเทศ ในถิ่นใกล้บ้าน ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation จึงได้ถือกำเนิดขึ้น การท่องเที่ยวเช่นนี้นิยมเที่ยวกันทั่วโลก ดิกชันนารีของ Merriam-Webster’s Collegiate ได้บรรจุคำศัพท์ Staycation ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีความหมายถึงการพักผ่อนโดยไปเที่ยวในประเทศ หรือ ในเมืองที่ตัวเองอยู่ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประโยชน์ของ Staycation ผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตประจำวันการทำงาน กลับบ้าน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียดสะสม การออกไปพักผ่อนจึงทำให้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ [...]
Read more

ฉลากคาร์บอนสื่อถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ Credit ภาพ: https://th.crazypng.com/681.html ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกตื่นตัวให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต   ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและภาคการบริการ คือ การเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ที่มาของฉลากคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2544 มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า “คาร์บอนทรัสต์ (Carbon Trust)” ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการลดปัญหาโลกร้อน มีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นองค์กรแห่งแรกที่ให้ใบรับรองเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 จึงเกิดฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค โดย Tesco Plc. ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ได้เริ่มติดฉลากคาร์บอน บอกจำนวนคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการผลิตบนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้ตราสินค้า Tesco ของตนเองประมาณ 20 รายการ วางขายใน Tesco ทั่วสหราชอาณาจักร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ติดบนผลิตภัณฑ์ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน  โดยแสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า [...]
Read more

Interview Pathway to Net Zero Emission for Thailand

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล หลังจากการประชุม COP26 ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ประกาศว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ทำให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วน วันนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจากคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และกรรมการบริหาร PETROMAT มาช่วยเราไขข้อสงสัย และแนะแนวทางที่ถูกต้องในการเดินเข้าสู่ Net Zero Emission • Carbon Neutral และ Net Zero Emission สำคัญอย่างไร • เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ Carbon Neutral และ Net Zero Emission ทาง PETROMAT ได้รู้จักคุณเกียรติชายในบทบาทผู้บริหารของบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของประเทศและกรรมการบริหารของ PETROMAT โดยคุณเกียรติชายช่วยแนะนำ PETROMAT ไม่ให้ตกเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด [...]
Read more

Upcycling แนวคิดยุคใหม่…ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของกระบวนการ “Upcycling” หรือ “Upcycle” ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการรีไซเคิลและมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหากากของเสีย ขยะที่ใช้แล้ว ส่งผลให้ลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จากบทความที่ผ่านมา “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ได้กล่าวถึง กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ว่าคืออะไร หลักการเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกระบวนการ Upcycling ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycle และ Upcycling ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Upcycling คืออะไร ? กระบวนการ Upcycling ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough และ Michael Braungart ในหนังสือ “Cradle to Cradle : Remaking the Way We [...]
Read more