แบบนี้ไม่ใช่มิตร แต่เป็นมิจฉาชีพ

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม ช่วงนี้แก๊ง Call Center ระบาดหนัก PETROMAT จึงอยากขอเตือนภัย เจอแบบนี้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจอมิจฉาชีพแล้วแหละ!! สารพัดวิธีโกง ทั้งหลอกเอาเงิน หรือหลอกเอาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่รู้ ไม่ทันระวังตัว อาจตกเป็นเหยื่อได้ รูปแบบการหลอกลวงที่พบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความเข้ามา โทรมา หรือแฮคเฟสบุคคนที่เรารู้จัก สร้างเรื่องราวต่าง ๆ ให้ตกใจ ดีใจ กังวลใจ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะอาศัยความกลัว ความโลภ ความรู้ไม่เท่าทัน เพื่อหลอกถามข้อมูลสำคัญ หรือหลอกให้โอนเงินต่าง ๆ วิธีป้องกัน ตั้งสติ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลอื่น ดาวน์โหลด Whoscall แอพจะระบุตัวตนของสายเรียกเข้าที่เราไม่รู้จักทำให้รู้ว่าเบอร์ต้นทางนั้นเป็นเบอร์จากใคร วิธีแก้ไข รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ติดต่อธนาคารเพื่อระงับการโอนเงิน หากระงับการโอนเงินไม่ได้ ให้นำหลักฐานแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งเรื่องร้องเรียกปรึกษา ติดต่อ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบอร์ 1599 หรือ 081-866-3000 ทุกวัน 8.30 [...]
Read more

CE Project โดยศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘กรมโรงงานฯ’ ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ

วันจันทร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ. 65) กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)" โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 150 คน   การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการวิจัยเรื่อง "มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการย่อยผู้ดำเนินโครงการฯ ด้านพลาสติก โดยในปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวนทั้งสิ้น 10 โรง   ในวันดังกล่าวมีวิทยากรจำนวนหลายท่าน โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs" ขณะที่ คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "Business Canvas Model"   ทั้งนี้ นับว่าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากการทำโครงการวิจัย พร้อมนำเสนอแนวทางให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแนวคิดธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน [...]
Read more

ธนบัตรพอลิเมอร์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ เรียกว่า “ธนบัตรพอลิเมอร์” ในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ซึ่งเปลี่ยนจากการเป็นธนบัตรกระดาษ มาใช้วัสดุ “พอลิเมอร์” ซึ่งมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า “ธนบัตรกระดาษ” ช่วยลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรที่ชำรุด ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่ถูกใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย ทำให้สภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น แท้จริงแล้วธนบัตรพอลิเมอร์ทำมาจากพอลิเมอร์ชนิดใดและใช้กระบวนการใดในการผลิต ติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ ธนบัตรพอลิเมอร์ ผลิตและขึ้นรูปด้วยวิธี Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) ซึ่งเป็นการหลอมเม็ดพลาสติกชนิดพอลิพรอพีลีน (PP) ผ่านเครื่องหลอมอัดรีด แล้วทำการดึงยืดให้เป็นฟิล์มโดยการดึงฟิล์มในสองทิศทาง ได้แก่ ดึงในด้านขนานกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด และดึงตั้งฉากกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ที่ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวฟิล์ม เช่น มีการยืดตัวต่ำ ความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น มีความแข็งมากขึ้น มีคุณสมบัติทางแสงที่ดีขึ้นและทนทานต่อน้ำหรือก๊าซได้ดีขึ้น การขึ้นรูปพลาสติกประเภท Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) [...]
Read more

พัฒนาวิธีการเพื่อยืดอายุการใช้งานกรดล้างโลหะ ลดภาระในการกำจัดของเสีย

วันนี้ (17 ก.พ. 65) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมร่วมกับนักวิจัย บริษัท เนกซัส เซอร์เฟส อินโนเวชั่น จำกัด นำโดย คุณธัชชัย หงส์ยั่งยืน เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย โดยศูนย์ฯ จะร่วมมือกับบริษัทฯ ในการพัฒนากลุ่ม​ผลิตภัณฑ์​ สำหรับนำไปใช้ในการแยกหรือตกตะกอนสิ่งเจือปนในกรด อันจะช่วยยืดอายุการใช้งานและอาจเพิ่มความสามารถในการนำกรดกลับไปใช้ซ้ำ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการกำจัดและลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นแนวคิดเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจร โดยมีกระบวนการ เช่น การซ่อมแซม การใช้ซ้ำ การแปรรูป ฯลฯ จึงช่วยลดขยะและของเสียจากการใช้ทรัพยากร ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ Circular Economy ยังช่วยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ๆ จึงเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นแบบไหน ทำไมจึงไม่ยั่งยืน? ก่อนจะรู้จัก Circular Economy ในอดีตโลกดำเนินอยู่ได้เพราะระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุลระหว่างทรัพยากรที่ถูกใช้หมดไปกับศักยภาพที่ธรรมชาติจะสร้างทรัพยากรทดแทนขึ้นมาใหม่ ต่อมาหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกาและในยุโรปมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อนำทรัพยากรเหล่านั้นไปผลิตเป็นสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค โดยแนวทางในการใช้ทรัพยากรเป็นไปในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” นั่นคือ ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างไม่ปรานีปราศรัยในการผลิตเป็นสินค้า หลังจากสินค้าหมดสภาพแล้วก็กลายเป็นขยะ โดยขยะสินค้าเหล่านี้รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรใหม่ตามแนวคิด Circular Economy ดังนั้น แนวทางในการใช้ทรัพยากรในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” จึงเรียกว่า Linear Economy หรือ “เศรษฐกิจแบบเส้นตรง” นั่นเอง “ภายในศตวรรษนี้คาดการณ์ว่าต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 1.5 เท่าของที่มีอยู่ในโลกถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ แต่แน่นอนว่าโลกมีให้ไม่พอ ซึ่งทางออกของปัญหานี้ก็คือแนวคิด Circular [...]
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯ คุยเรื่อง ‘ถ่านอัดแท่ง’ จากเศษพืชเหลือทิ้ง ให้กลุ่ม SCG Waste

วันที่ 9 ก.พ. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้หารือร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาฯ และนักวิจัยกลุ่ม SCG Waste การพูดคุยกันในครั้งนี้ ศ.ดร.ธราพงษ์ ได้เล่ารายละเอียดการทำวิจัยเกี่ยวกับถ่านอัดแท่ง ซึ่งทำจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ เพื่อเปิดมุมมองให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและซักถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

การประชุมกรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ครั้งที่ 1/2565

ศูนย์ฯ จัดประชุมบอร์ดอำนวยการ: นำเสนอผลการดำเนินงานปี 64 - ปรับทิศทางการทำงานปี 65   วันที่ 7 ก.พ. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุได้จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เพื่อหารือในวาระต่าง ๆ และนำเสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 โดยที่ประชุมประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและบริษัทเอกชน และกรรมการท่านอื่น ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ คุณวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้แทนจากอีก 4 มหาวิทยาลัยสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมด้วย ปีงบประมาณ 2564 [...]
Read more

Filament for FDM 3D Printer

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าเทคโนโลยี 3D Printing ชนิด Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยการหลอมละลายเส้นพลาสติก (Filament) ที่บริเวณหัวขึ้นรูปซึ่งเคลื่อนที่ได้ แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป ซึ่งเมื่อเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นตามแบบก็จะได้ชิ้นงาน 3 มิติ ที่มีรูปร่าง หน้าตา เหมือน 3D Model ตามต้องการ ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี FDM 3D Printing เป็นที่นิยมใช้ และเกิดการแข่งขันจนราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียงหลักหมื่นและหลักพันบาท บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลของ Filament ที่มีในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้ เลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ Filament for 3D Printer FDM 3D Printing เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ต้องการทำต้นแบบด้วยความรวดเร็วและราคาถูก สามารถนำไปใช้ได้กับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากจะเป็นระบบที่ต้นทุนถูกที่สุดแล้ว ยังมีวัสดุ และสีให้เลือกมากมาย [...]
Read more

Metaverse กับ อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย “Metaverse” คำศัพท์แห่งอนาคตที่กลายเป็นที่นิยมและได้รับการพูดถึงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ “Mark Zuckerberg” ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO “Facebook” ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “Meta” เพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ระยะต่อไปที่เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดียและเพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในอนาคต วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “Metaverse” และบทบาทที่สำคัญของ Metaverse ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคตได้อย่างไร ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Metaverse คืออะไร ? “Metaverse” มาจากคำว่า “Meta” ที่แปลว่า เหนือกว่า พ้น เกินขอบเขต กับคำว่า “Universe” ที่แปลว่าจักรวาล เมื่อนำมารวมกันได้ความหมายว่า โลกที่พ้นขอบเขตไปแล้ว หรือ จักรวาลที่พ้นขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ จะหมายถึง แนวคิดในการสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ชุมชนโลกเสมือนจริง” ที่สามารถผสานวัตถุรอบตัวและสภาพแวดล้อมให้เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว สำหรับภาษาไทย ยังไม่มีความหมายและคำศัพท์ที่ใช้แทนคำว่า Metaverse ที่ชัดเจน โดยล่าสุด ราชบัณฑิตยสภาฯ ได้บัญญัติคำศัพท์ เพื่อใช้เรียก Metaverse ในภาษาไทย ว่า “จักรวาลนฤมิต” ในความเป็นจริงแล้ว Metaverse มีจุดเริ่มต้นมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson นักเขียนชาวอเมริกัน [...]
Read more

นวัตกรรม 𝐂𝐞𝐥𝐥𝐨-𝐠𝐮𝐦 ร่วมออกบูธในงาน “วันนักประดิษฐ์”

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เจ้าของนวัตกรรม Cello-gum (แบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว) ร่วมนำผลงานนวัตกรรมดังกล่าวไปจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 - 2565 (Thailand Inventor’s Day 2021 & 2022) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ   Cello-gum เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยได้รับทุนโครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว. ภายใต้โครงการ "การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์" ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารให้ความคงตัวในอาหาร ในยา ฯลฯ โดยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเด่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุขั้นสูงเพื่ออุตสาหกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจาก วช. ให้ได้จัดแสดงภายในงานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้ ร่วมกับผลงานนวัตกรรมอื่น ๆ อีกกว่า 1,000 รายการ ซึ่งสร้างสรรค์โดยนักวิจัยและนักประดิษฐ์จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ทั่วทั้งประเทศ   Go to Top [...]
Read more