PETROMAT จับมือ SHERA เดินหน้าสร้างนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก สานต่อโพรเจกต์วัสดุก่อสร้างสมรรถนะสูง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เฌอร่า จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ด้วยกลไกศูนย์ฯ ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ในการต่อยอดการวิจัยด้านวัสดุก่อสร้าง วันที่ 30 พ.ค. 2565 คณะทำงานของปิโตรแมท นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท วงษ์พิทักษ์ คอนกรีตมิกเซอร์ จำกัด และบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ที่จังหวัดราชบุรี พร้อมกันนี้ยังได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยฯ ที่ร่วมกับทางเฌอร่าตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ดร.บัณฑิต โคตรฐิติธรรม ผู้รับทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ ดร.วิชิต ประกายพรรณ นักวิจัยพี่เลี้ยงจากเฌอร่า ได้ร่วมกับบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาวิจัยเชิงอุตสาหกรรมในการพัฒนาวัสดุคอมโพสิตสมรรถนะสูงเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง" ในวันดังกล่าว ดร.บัณฑิต ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จเมื่อรับทุนในปีแรก ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ที่แข็งแรงทนทานคล้ายกับคอนกรีต แต่จีโอพอลิเมอร์มีข้อดีเหนือว่าคอนกรีตเพราะสามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ผลผลิตที่เกิดขึ้นได้นำไปต่อยอดเป็นหลังคาอันมีรูปลักษณ์เหมือนไม้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของเฌอร่า ส่วนในปีนี้ ดร.บัณฑิต กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ Precast Concrete [...]
Read more

มารู้จัก Staycation เที่ยวใกล้ประหยัดเวลา พาสบายกระเป๋า

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม Staycations เป็นการผสมคำระหว่าง Stay ที่แปลว่า “อยู่บ้าน” และ Vacation ที่แปลว่า “การพักผ่อน” ซึ่งนำมารวมกันแล้วหมายถึงการพักผ่อนอยู่กับบ้าน ซึ่งการพักผ่อนแบบนี้นับเป็นไอเดียที่ดีที่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะพิษโควิด แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวสถานที่ใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการพักโรงแรม การกินดื่มตามคาเฟ่ทั่วไป หรือการไปสปานวดพักร่างกาย เมื่อปี พ.ศ. 2550 - 2551 เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อ “Hamburger Crisis” ทำให้การพักผ่อนท่องเที่ยว เป็นในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้เงิน ท่องเที่ยวในประเทศ ในถิ่นใกล้บ้าน ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation จึงได้ถือกำเนิดขึ้น การท่องเที่ยวเช่นนี้นิยมเที่ยวกันทั่วโลก ดิกชันนารีของ Merriam-Webster’s Collegiate ได้บรรจุคำศัพท์ Staycation ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีความหมายถึงการพักผ่อนโดยไปเที่ยวในประเทศ หรือ ในเมืองที่ตัวเองอยู่ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประโยชน์ของ Staycation ผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตประจำวันการทำงาน กลับบ้าน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียดสะสม การออกไปพักผ่อนจึงทำให้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ [...]
Read more

ปิโตรแมทจัดไลฟ์ Bioplastic Forum ครั้งแรก ตีโจทย์แตก! มาตรฐานไบโอพลาสติก-ฟู้ดแพกเกจจิ้ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (ปิโตรแมท) ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ในการจัดเสวนาไบโอพลาสติก ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Bioplastics for Food Packaging "ตีโจทย์ไบโอพลาสติก พลิกตลาดบรรจุภัณฑ์" ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เมื่อเวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการปิโตรแมท ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ต่อมาการเสวนาจึงเริ่มต้นขึ้นโดยวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คุณประกฤต หฤหรรษาพร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ Bio-compostable บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของการหันมาใช้ไบโอพลาสติก ชนิดและการประยุกต์ใช้งานของไบโอพลาสติกแต่ละประเภท รวมถึงได้อัปเดทผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่พัฒนาขึ้นโดยเอสซีจีซี หลังจากนั้น คุณศลินา แสงทอง นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้บรรยายในเรื่องข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมร่างประกาศฉบับใหม่ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาการใช้พลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์มัลทิเลเยอร์ต่าง ๆ และที่น่าสนใจคือในอนาคตจะอนุญาตให้สามารถใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้ด้วย โดยจะเริ่มจากพลาสติกชนิด PET [...]
Read more

ปิโตรแมทแท็กทีม ‘เอสซีจีซี’ เดินหน้าสร้างโพสต์ด็อก ปีที่ 2 ต่อยอดงานวิจัยไบโอพลาสติก

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ในการวิจัยด้านไบโอพลาสติก ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง วันที่ 26 พ.ค. 2565 ศูนย์ฯ ได้จัดประชุมออนไลน์ร่วมกันระหว่างผู้ร่วมโครงการฯ เพื่อให้ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าในผลงานของ ดร.วราภรณ์ สุจริตรักษ์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ผู้รับทุนโครงการนี้ ซึ่งมี ดร.เมธี ขำดวง เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง สำหรับปีนี้ ดร.วราภรณ์ ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบพลาสติกย่อยสลายได้ โดยพัฒนาชุดตรวจที่สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบดังกล่าว รวมถึงได้พัฒนาชุดตรวจสอบความเป็นพิษในดินเมื่อพลาสติกเกิดการย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบพลาสติก ต่างกับการทำวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยดร.วราภรณ์ เผยว่าโจทย์วิจัยที่ได้จากภาคอุตสาหกรรมจะเปิดกว้างกว่า และสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ตนได้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติมทั้งด้านเคมีและด้านชีวภาพ กระทั่งงานวิจัยสำเร็จลุล่วง ส่วนดร.เมธี เห็นว่านักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกมีศักยภาพสูงในการช่วยพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรม โดยทางบริษัทฯ พร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนานักวิจัยในลักษณะนี้ร่วมกับทางภาครัฐและทางศูนย์ฯ ทั้งในครั้งนี้ที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว และในภายภาคหน้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘สงวนวงษ์สตาร์ช’ ร่วมโครงการสุดต๊าช! พัฒนานักวิจัยสร้างพรีไบโอติกจากมันสำปะหลัง

วันที่ 24 พ.ค. 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมชม บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด ซึ่งร่วมกับศูนย์ฯ ในโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ทั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมพรีไบโอติกจากแป้งมันสำปะหลัง ดร.ศุภรดา จันทรทิณ นักวิจัยหลังปริญญาเอกและผู้รับทุนโครงการฯ ได้เปิดใจกับทีมงานของศูนย์ฯ ว่างานวิจัยของตนได้เดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยตนได้รับประสบการณ์โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรเวลาเมื่อทำงานร่วมกับทางภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดในการทำงาน และต้องนำเสนอความก้าวหน้าในงานวิจัยทุกสัปดาห์ เพื่อให้ผลงานสำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว ด้านคุณพิมพ์มนิดา พิวัฒนาทักษ์ นักวิจัยพี่เลี้ยงของบริษัทสงวนวงษ์สตาร์ช ระบุถึงความสำเร็จของโครงการนี้ไว้ว่า ความร่วมมือกับศูนย์ฯ ในครั้งนี้ ทำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทางบริษัทฯ เดินหน้าได้อย่างก้าวกระโดด เพราะดร.ศุภรดาสามารถใช้เวลาทุ่มเทกับการวิจัยได้อย่างเต็มที่ โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ขณะที่โครงการนี้ทำให้ผู้บริหารของสงวนวงษ์สตาร์ชเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานักวิจัยระดับสูง ซึ่งจะเป็นกำลังในการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากแป้งมันสำปะหลัง ปัจจุบันบริษัทฯ มีแผนในการสร้างโรงงานต้นแบบเพื่อต่อยอดผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือของดร.ศุภรดา จึงนับเป็นความสำเร็จที่เกินความคาดหมายจากการทำโครงการของศูนย์ฯ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more

‘ปตท.’ หารือนักวิจัยปิโตรแมท เล็งจับมือพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ มีการเจรจาความร่วมมือกับ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ดร.สุชาดา ฉิ่มอ่ำ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีวิจัยกระบวนการและพลังงานประยุกต์ของสถาบันฯ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ อิ่มยิ้ม อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิจัยศูนย์ฯ ได้ร่วมหารือด้วย สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ดร.ธเนศร์ ดนุไทย นักวิจัยของ ปตท. ได้แนะนำให้รู้จักสถาบันฯ และงานวิจัยที่สนใจ ขณะที่ รศ.ดร.อภิชาติ ได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือร่วมกันภายใต้การดำเนินการของศูนย์ฯ โดยจะเน้นการพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 [...]
Read more

ฉลากคาร์บอนสื่อถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ Credit ภาพ: https://th.crazypng.com/681.html ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกตื่นตัวให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต   ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและภาคการบริการ คือ การเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ที่มาของฉลากคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2544 มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า “คาร์บอนทรัสต์ (Carbon Trust)” ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการลดปัญหาโลกร้อน มีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นองค์กรแห่งแรกที่ให้ใบรับรองเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 จึงเกิดฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค โดย Tesco Plc. ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ได้เริ่มติดฉลากคาร์บอน บอกจำนวนคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการผลิตบนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้ตราสินค้า Tesco ของตนเองประมาณ 20 รายการ วางขายใน Tesco ทั่วสหราชอาณาจักร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ติดบนผลิตภัณฑ์ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน  โดยแสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า [...]
Read more

ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel

ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel พร้อมเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้-ศูนย์วิจัยคลินิก ม.อ. เมื่อวันที่ 17-18 พ.ค. 65 ทีมผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ที่ทำร่วมกับ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด พร้อมกันนี้คณะผู้เดินทางได้เยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จังหวัดสงขลา และศูนย์วิจัยคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเช้าของวันที่ 17 ทีมผู้บริหารศูนย์ฯ ได้เข้าพบ ทพ.เมธี โกวิทวนาวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ ผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา ภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ทำร่วมกับศูนย์ฯ พญ.นลินี ได้นำเสนอที่มาของงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุกระจายแรงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันแผลกดทับ ซึ่งแต่ก่อนวัสดุดังกล่าวมีราคาแพงเพราะไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทฯ จึงได้วิจัยวัสดุกระจายแรงที่ใช้ส่วนผสมจากยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย จนได้เป็นผลิตภัณฑ์เจลยางพาราป้องกันแผลกดทับภายใต้แบรนด์ Doctor N Medigel ซึ่งมีความต้องการมากโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ติดเตียงในที่พักอาศัย โครงการวิจัยที่ศูนย์ฯ ทำร่วมกับทางบริษัทฯ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ขอแสดงความยินดีแด่– 🎉🎉🎉 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานกิตติบัตร "ศาสตราจารย์กิตติคุณ" 🎉🎉🎉 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

Interview Pathway to Net Zero Emission for Thailand

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล หลังจากการประชุม COP26 ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ประกาศว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ทำให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วน วันนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจากคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และกรรมการบริหาร PETROMAT มาช่วยเราไขข้อสงสัย และแนะแนวทางที่ถูกต้องในการเดินเข้าสู่ Net Zero Emission • Carbon Neutral และ Net Zero Emission สำคัญอย่างไร • เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ Carbon Neutral และ Net Zero Emission ทาง PETROMAT ได้รู้จักคุณเกียรติชายในบทบาทผู้บริหารของบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของประเทศและกรรมการบริหารของ PETROMAT โดยคุณเกียรติชายช่วยแนะนำ PETROMAT ไม่ให้ตกเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด [...]
Read more