ปิโตรแมทร่วมกับ ‘ฟิวชั่น เทคโนโลยี แอนด์ เซอร์วิส’ จับมือวิจัยแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

วันที่ 13 ม.ค. 2565 คณะทำงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยทีมวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.รจนา พรประเสริฐสุข นักวิจัยของศูนย์ฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ได้ประชุมร่วมกับคุณวิสุทธิ์ ลิ้มวัฒนา ผู้บริหารของบริษัท ฟิวชั่น เทคโนโลยี แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการด้านระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยทางบริษัทฯ ยังมีความสนใจในการพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นแหล่งพลังงานใหม่อันมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง ขณะที่ทางศูนย์ฯ ได้ให้คำแนะนำเพื่อวางแนวทางในการทำโครงการวิจัยร่วมกัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

ความสำเร็จจากความคิดต่าง คิดนอกกรอบ และคิดเชิงบวก

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ หรือ “อ.ปุ๊ก” นักวิทยาศาสตร์หญิงคนเก่ง หลังจากบ่มเพาะความรู้ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ปุ๊กได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปคว้าปริญญาเอกด้านวิศวกรรมวัสดุจาก Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้กลับมายังรั้วจามจุรีเพื่อเริ่มต้นบทบาทการเป็นอาจารย์ในปี 2547 ในด้านการศึกษา อ.ปุ๊ก ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิทยาการพอลิเมอร์ สังกัดวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในปี 2564 ในด้านการบริหาร อ.ปุ๊ก ได้ผ่านงานบริหารมากมายและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2559 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2563 Q : ความฝันวัยเด็ก A: “แม้ว่าจะเป็นเด็กต่างจังหวัด แต่ก็ชอบหาสิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลา” ในขณะที่เด็กคนอื่นอยากจะเรียนต่อ ม. 1 ในโรงเรียนประจำจังหวัด แต่ อ.ปุ๊กกลับมองหาสิ่งที่จะให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองมากกว่านี้ เวลานั้นที่ภาคใต้มีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งความท้าทายคือนักเรียนจะต้องไปอยู่หอพักของเอกชนรอบ ๆ โรงเรียน การที่เด็ก ม. 1 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร นำเสนอผลการดำเนินงานปี 65 เฟสแรก

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 โดยวันนี้ (28 ม.ค. 65) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ (ประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการศูนย์ฯ) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ (กรรมการบริหารและเลขานุการ และรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ) ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน และคณะกรรมการจากมหาวิทยาลัย เพื่อหารือในหลายวาระและนำเสนอผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2565   ในการดำเนินการด้านโปรแกรมวิจัย นักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ผลิตวิทยานิพนธ์รวมถึงมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติจำนวนหลายเรื่อง ส่วนผลการดำเนินงานด้านอื่น ศูนย์ฯ ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICAPMA-JMAG 2021 ซึ่งในงานมีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิจัยด้านวัสดุจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ โดยการประชุมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม ปีที่แล้ว   แม้ว่าปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้จะอยู่ในช่วงที่ยังมีการระบาดของโรคโควิด แต่ศูนย์ฯ ก็ยังคงเดินหน้าหาความร่วมมือในการทำวิจัยกับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ศูนย์ฯ มีโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ -โครงการ “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs” โดยศูนย์ฯ เพิ่งร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการจัดอบรมเพื่อพัฒนาที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Coach) เมื่อวันที่ [...]
Read more

PETROMAT ร่วมแสดงความยินดีคณาจารย์ KU-ChE

  PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี (KU-ChE) ได้รับการจัดอันดับ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการ Citation ที่สูง (Top 10) (ปี 2016-2021) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนี้     ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ผนึกพันธมิตรภาคเอกชน จัดอบรมเพื่อพัฒนา CE Coaching

"กรมโรงงานฯ" จับมือ "ปิโตรแมท" "สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ" ผนึกพันธมิตรภาคเอกชน จัดอบรมเพื่อพัฒนา CE Coach ที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน   กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (ปิโตรแมท) และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงระหว่างวันที่ 19 – 25 มกราคม 2565 เพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้าง "CE Coach ที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน" ให้มีความพร้อมสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการยกระดับกระบวนการผลิตสู่ความยั่งยืนให้โรงงานทั่วประเทศ   นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ ที่ปรึกษาโครงการฯ พิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ โดยได้รับเกียรติจาก นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างที่ปรึกษาการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในโรงงานอุตสาหกรรม (CE Coach) และเป็นผู้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการโรงงานและประกาศนียบัตรแก่ผู้ช่วยวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ [...]
Read more

NET ZERO : ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เดาว่านี่คงไม่ใช่ครั้งแรกที่พบคำว่า “Net Zero” เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มักจะพบกับคำนี้บ่อยครั้ง เคยสงสัยกันไหมว่าจริง ๆ แล้วคำนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับก๊าซเรือนกระจก ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง นอกจากนี้ยังมี Carbon Neutrality และ Climate Neutrality แต่ละคำต่างกันอย่างไร แล้วทุกอย่างที่กล่าวมามีผลต่อเราหรือไม่ เราจะอธิบายให้ฟังแบบง่าย ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเหตุที่ก๊าซเรือนกระจกกันก่อนนะคะ ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร? ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases: GHG) คือ กลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกที่สามารถดูดซับและปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่เฉพาะของรังสีอินฟราเรดที่ปล่อยสู่ผิวโลก ชั้นบรรยากาศ และเมฆ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิดตามที่กำหนดภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ก๊าซเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากก๊าซเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนอยู่อาศัยไม่ได้ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ปรึกษากรมโรงงานฯ เดินหน้าโครงการจัดการกากอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 65 ทีมวิจัยโครงการ “แนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน” นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ได้เดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อมูลในการทำโครงการวิจัย   โดยหัวหน้าโครงการฯ ศ.ดร.หทัยกานต์ พร้อมด้วยทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้นำเสนอที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยให้แก่ คุณชยกร คชเสนีย์ และคุณอัณณ์ภิศา นาคสินไพศาล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ โดยโครงการดังกล่าวมีความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการศึกษาข้อมูลด้านการจัดการกากของเสียจากโรงงานในประเทศ เพื่อพัฒนาและเผยแพร่แนวทางที่ถูกวิธีในการจัดการกากของเสีย รวมถึงทางเลือกในการหมุนเวียนกากของเสียกลับมาใช้ใหม่ ในโอกาสนี้จึงได้ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากกรมโรงงานฯ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการวิจัยให้สำเร็จ     Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ต้อนรับนักวิจัย ‘เอสซีจี’ ในโอกาสปีใหม่ มองไกลถึงความร่วมมือในอนาคต…

เมื่อวานนี้ (17 ม.ค. 65) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ต้อนรับคณะนักวิจัยจาก บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ในโอกาสที่ทางบริษัทฯ ได้เข้ามามอบของขวัญปีใหม่ให้ทางศูนย์ฯ พร้อมกันนี้ยังได้พูดคุยเพื่อสร้างความร่วมมือกันในครั้งใหม่   โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ได้นำเสนอแนวทางการทำงานของปิโตรแมทในปัจจุบัน ซึ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยโดยขอทุนจากภาครัฐและมีภาคเอกชนเป็นส่วนร่วมในการผลักดัน ส่วนนักวิจัยของเอสซีจีนำโดย ดร.จิรุตถ์ วัดตูม (Strategy and Portfolio Manager) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองหน่วยงานจะจับมือร่วมกันในอนาคต     Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ จับกลุ่มภาครัฐ – ภาคเอกชน พูดคุยสร้างความร่วมมือในเครือข่าย

วันที่ 18 ม.ค. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับกลุ่มเครือข่ายนักวิจัยนำโดย คุณธีระพล ติรวศิน กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด และ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย คุณปัญญา โสภาศรีพันธ์ Business Stakeholder Engagement Deputy Director บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด โดยการประชุมในวันนี้เพื่อหาโอกาสให้นักวิจัยได้ร่วมมือกันในการพัฒนาโครงการเรื่องใหม่   ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ ได้นำเสนอความเชี่ยวชาญและรายละเอียดของงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม     Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   [...]
Read more

Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของ Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “BCG” (Bioeconomy / Circular Economy และ Green Economy) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผ่านเรื่อง BCG Model ซึ่งสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนในแง่มุมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดขึ้นราว ๆ ทศวรรษ 1970 ซึ่งในช่วงนั้น หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนเอง รวมถึงทรัพยากรที่ต้องนำเข้ามานั้นมีจำกัด เห็นได้ชัดจากราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น และเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ลองนำแนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ พบว่า นอกจากจะทำให้ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ [...]
Read more