Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นแนวคิดเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจร โดยมีกระบวนการ เช่น การซ่อมแซม การใช้ซ้ำ การแปรรูป ฯลฯ จึงช่วยลดขยะและของเสียจากการใช้ทรัพยากร ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ Circular Economy ยังช่วยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ๆ จึงเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นแบบไหน ทำไมจึงไม่ยั่งยืน? ก่อนจะรู้จัก Circular Economy ในอดีตโลกดำเนินอยู่ได้เพราะระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุลระหว่างทรัพยากรที่ถูกใช้หมดไปกับศักยภาพที่ธรรมชาติจะสร้างทรัพยากรทดแทนขึ้นมาใหม่ ต่อมาหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกาและในยุโรปมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อนำทรัพยากรเหล่านั้นไปผลิตเป็นสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค โดยแนวทางในการใช้ทรัพยากรเป็นไปในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” นั่นคือ ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างไม่ปรานีปราศรัยในการผลิตเป็นสินค้า หลังจากสินค้าหมดสภาพแล้วก็กลายเป็นขยะ โดยขยะสินค้าเหล่านี้รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรใหม่ตามแนวคิด Circular Economy ดังนั้น แนวทางในการใช้ทรัพยากรในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” จึงเรียกว่า Linear Economy หรือ “เศรษฐกิจแบบเส้นตรง” นั่นเอง “ภายในศตวรรษนี้คาดการณ์ว่าต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 1.5 เท่าของที่มีอยู่ในโลกถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ แต่แน่นอนว่าโลกมีให้ไม่พอ ซึ่งทางออกของปัญหานี้ก็คือแนวคิด Circular [...]
Read more

Filament for FDM 3D Printer

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าเทคโนโลยี 3D Printing ชนิด Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยการหลอมละลายเส้นพลาสติก (Filament) ที่บริเวณหัวขึ้นรูปซึ่งเคลื่อนที่ได้ แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป ซึ่งเมื่อเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นตามแบบก็จะได้ชิ้นงาน 3 มิติ ที่มีรูปร่าง หน้าตา เหมือน 3D Model ตามต้องการ ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี FDM 3D Printing เป็นที่นิยมใช้ และเกิดการแข่งขันจนราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียงหลักหมื่นและหลักพันบาท บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลของ Filament ที่มีในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้ เลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ Filament for 3D Printer FDM 3D Printing เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ต้องการทำต้นแบบด้วยความรวดเร็วและราคาถูก สามารถนำไปใช้ได้กับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากจะเป็นระบบที่ต้นทุนถูกที่สุดแล้ว ยังมีวัสดุ และสีให้เลือกมากมาย [...]
Read more

Metaverse กับ อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย “Metaverse” คำศัพท์แห่งอนาคตที่กลายเป็นที่นิยมและได้รับการพูดถึงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ “Mark Zuckerberg” ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO “Facebook” ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “Meta” เพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ระยะต่อไปที่เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดียและเพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในอนาคต วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “Metaverse” และบทบาทที่สำคัญของ Metaverse ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคตได้อย่างไร ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Metaverse คืออะไร ? “Metaverse” มาจากคำว่า “Meta” ที่แปลว่า เหนือกว่า พ้น เกินขอบเขต กับคำว่า “Universe” ที่แปลว่าจักรวาล เมื่อนำมารวมกันได้ความหมายว่า โลกที่พ้นขอบเขตไปแล้ว หรือ จักรวาลที่พ้นขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ จะหมายถึง แนวคิดในการสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ชุมชนโลกเสมือนจริง” ที่สามารถผสานวัตถุรอบตัวและสภาพแวดล้อมให้เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว สำหรับภาษาไทย ยังไม่มีความหมายและคำศัพท์ที่ใช้แทนคำว่า Metaverse ที่ชัดเจน โดยล่าสุด ราชบัณฑิตยสภาฯ ได้บัญญัติคำศัพท์ เพื่อใช้เรียก Metaverse ในภาษาไทย ว่า “จักรวาลนฤมิต” ในความเป็นจริงแล้ว Metaverse มีจุดเริ่มต้นมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson นักเขียนชาวอเมริกัน [...]
Read more

ความสำเร็จจากความคิดต่าง คิดนอกกรอบ และคิดเชิงบวก

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ หรือ “อ.ปุ๊ก” นักวิทยาศาสตร์หญิงคนเก่ง หลังจากบ่มเพาะความรู้ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ปุ๊กได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปคว้าปริญญาเอกด้านวิศวกรรมวัสดุจาก Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้กลับมายังรั้วจามจุรีเพื่อเริ่มต้นบทบาทการเป็นอาจารย์ในปี 2547 ในด้านการศึกษา อ.ปุ๊ก ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิทยาการพอลิเมอร์ สังกัดวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในปี 2564 ในด้านการบริหาร อ.ปุ๊ก ได้ผ่านงานบริหารมากมายและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2559 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2563 Q : ความฝันวัยเด็ก A: “แม้ว่าจะเป็นเด็กต่างจังหวัด แต่ก็ชอบหาสิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลา” ในขณะที่เด็กคนอื่นอยากจะเรียนต่อ ม. 1 ในโรงเรียนประจำจังหวัด แต่ อ.ปุ๊กกลับมองหาสิ่งที่จะให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองมากกว่านี้ เวลานั้นที่ภาคใต้มีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งความท้าทายคือนักเรียนจะต้องไปอยู่หอพักของเอกชนรอบ ๆ โรงเรียน การที่เด็ก ม. 1 [...]
Read more

NET ZERO : ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เดาว่านี่คงไม่ใช่ครั้งแรกที่พบคำว่า “Net Zero” เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มักจะพบกับคำนี้บ่อยครั้ง เคยสงสัยกันไหมว่าจริง ๆ แล้วคำนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับก๊าซเรือนกระจก ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง นอกจากนี้ยังมี Carbon Neutrality และ Climate Neutrality แต่ละคำต่างกันอย่างไร แล้วทุกอย่างที่กล่าวมามีผลต่อเราหรือไม่ เราจะอธิบายให้ฟังแบบง่าย ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเหตุที่ก๊าซเรือนกระจกกันก่อนนะคะ ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร? ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases: GHG) คือ กลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกที่สามารถดูดซับและปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่เฉพาะของรังสีอินฟราเรดที่ปล่อยสู่ผิวโลก ชั้นบรรยากาศ และเมฆ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิดตามที่กำหนดภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ก๊าซเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากก๊าซเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนอยู่อาศัยไม่ได้ [...]
Read more

Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของ Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “BCG” (Bioeconomy / Circular Economy และ Green Economy) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผ่านเรื่อง BCG Model ซึ่งสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนในแง่มุมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดขึ้นราว ๆ ทศวรรษ 1970 ซึ่งในช่วงนั้น หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนเอง รวมถึงทรัพยากรที่ต้องนำเข้ามานั้นมีจำกัด เห็นได้ชัดจากราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น และเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ลองนำแนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ พบว่า นอกจากจะทำให้ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ [...]
Read more

3D Printing: เทคโนโลยีของโลกยุคใหม่

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมากว่า 30 ปีและกำลังขยายการใช้งานเข้าสู่ผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้นในราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ จนมีผู้นำไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในแวดวงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถสร้างชิ้นงานได้ด้วยวัสดุหลากหลายแบบ ทั้งพลาสติก ยาง โลหะ ไนล่อน อัลลอย ฯลฯ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานและวัสดุที่สามารถพิมพ์ได้ ถึงแม้เครื่องพิมพ์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันแต่หลักการพื้นฐานยังเหมือนเดิมคือ “ขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น” บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติกัน Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยี 3D Printing ที่แพร่หลายที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ทำงานโดยการทำความร้อนละลายเส้นพลาสติก (Filament) แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามรูปทรงหน้าตัดของชิ้นงานทีละชั้นซ้อนกันเรื่อย ๆ จนได้เป็นชิ้นงาน เหมาะสำหรับทำชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว มีข้อดีคือราคาถูก ใช้งานง่ายและมีวัสดุให้เลือกใช้หลายชนิด (ABS, PLA, Flexible, Nylon, [...]
Read more